เปลี่ยนการแสดงผล
ติดต่อเรา
ถาม-ตอบ(Q&A) และ คำถามที่พบบ่อย(FAQ)
ถาม-ตอบ (Q&A)

questions and answers (q&a)

ส่งคำถาม
select




คําถามที่พบบ่อย (FAQ)

Frequently asked questions (faq)

คําถาม:
รายการคําถาม
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้รับสนองพระราชประสงค์ในการทำฝนหลวงช่วยเหลือประชาชน
ในปี พ.ศ. 2518 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงขึ้นรับผิดชอบการทำฝนหลวง ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้รวมตัวกับกองบินเกษตรตั้งเป็น "สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร" และตั้งในฐานะเป็น "กรมฝนหลวงและการบินเกษตร" จนถึงปัจจุบัน
ฝนหลวง เป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดําริให้ก่อตั้งโครงการฝนหลวงขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ในขณะเสด็จฯ เยี่ยมประชาชน ที่ประสบปัญหาภัยแล้ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงประดิษฐ์คิดค้นวิธีการทําฝนหลวงด้วยพระองค์ เองโดยมีหม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรวิศวกรรมเป็นผู้รับสนองการทดลอง ปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาต่างๆ
การทําฝนหลวงต้องใช้ในลักษณะเป็นองค์ประกอบของการจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ โดยร่วมมือกับกรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ฝนหลวงคือฝนที่เกิดจากเมฆที่ได้รับการกระตุ้นหรือเสริมกระบวนการเจริญเติบโตจน สามารถเป็นฝนในพื้นที่เป้าหมายที่ต้องการในปริมาณที่สูงกว่าการตกเองตามธรรมชาติ
เริ่มทําการบินทดลองปฏิบัติการทําฝนหลวงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 บริเวณเหนือวนอุทยานเขาใหญ่และได้ทดลองต่อมาอีกหลายครั้งจนประสบความสําเร็จ
เริ่มปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือประชาชนครั้งแรก ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2514 และปฏิบัติติดต่อกันเรื่อยมาทุกปีจนถึงปัจจุบัน
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะที่ทรงเป็น “พระบิดาแห่งฝนหลวง” โดยถือเอาวันที่ทรงมีพระราชดําริฝนหลวง 14 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็นวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประชาชนชาวไทยทุกคนควรร่วมกันน้อมรําลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเสียสละ ทุ่มเท ประดิษฐ์คิดค้นวิธีการทําฝนหลวงจนสามารถช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นภัยแล้งได้สําเร็จ
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(บางเขน) ที่อยู่ 2345 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์: 02 940 5960-63 ต่อ 604 หน่วยงานในส่วนภูมิภาคมีทั้งหมด 5 ศูนย์ โดยแต่ละศูนย์จะดูแลพื้นที่จํานวน 8-10 จังหวัด ได้แก่ 1.ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ ที่อยู่ ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โทรศัพท์: 053-275051 2.ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่อยู่ ท่าอากาศยานนานาชาติขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น โทรศัพท์: 043-468217, 043-468223 3.ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคกลาง ที่อยู่ สนามบินนครสวรรค์ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ โทรศัพท์: 056-256018 4.ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออก ที่อยู่ สนามบนอู่ตะเภา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง โทรศัพท์: 038-025729 5.ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ ที่อยู่ กองบิน 7 ต.มะลวน อ.พุนพิน จ.สุราษฏร์ธานี โทรศัพท์: 077-268870
ท่านสามารถเข้าไปที่ http://www.royalrain.go.th เพื่อเข้าชมประวัติความเป็นมา ข่าวสารประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการปฏิบัติการฝนหลวง และติดตามผลการปฏิบัติฝนหลวงประจําวัน รวมทั้ง ข้อมูลกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
กรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้จัดช่องทางสําหรับร้องขอฝนไว้ 6 ช่องทางหลัก ได้แก่ 1.โทรศัพท์หมายเลข 0 2940 5960-63 ต่อ 604 2.เว็บไซต์กรมฝนหลวงและการบินเกษตร (https://it.royalrain.go.th/rainmaking/) 3.จดหมาย/ตู้ปณ. 57 4.หนังสือราชการถึงกรมฝนหลวงและการบินเกษตร 5.ตู้รับเรื่องร้องเรียน ณ ที่ตั้งกรมฝนหลวงและการบินเกษตร และศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงประจําภาค 6.ติดต่อด้วยตนเองณหน่วยงานในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงควรจะตั้งในภาคเหนือ 3 ศูนย์ภาคกลาง 3 ศูนย์ภาคตะวันออกเฉียง เหนือ 4 ศูนย์ภาคตะวันออก 2 ศูนย์ภาคใต้ 3 ศูนย์ รวม 15 ศูนย์จึงจะเหมาะสม แต่งบประมาณและอัตรากําลัง ยังมีไม่เพียงพอ
เพราะไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ซึ่งประสบปัญหาภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วงในทุกภาคของ ประเทศเป็นประจําทุกปี จึงจําเป็นต้องมีการทําฝนหลวงช่วยเสริมธรรมชาติในการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาภัยแล้ง
การทําฝนหลวงช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ช่วยเติมน้ําให้กับเขื่อนและอ่างเก็บน้ําต่างๆ ช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้พื้นดิน ลดการเกิดไฟป่า ช่วยสลายหมอกควัน ลดมลพิษทางน้ําและในอากาศ ช่วยยับยั้งการเกิดลูกเห็บ
การทําฝนหลวงเติมน้ําให้เขื่อนจะช่วยเพิ่มต้นทุนของการผลิตไฟฟ้าพลังน้ํา และระบบ ชลประทานที่จะช่วยเหลือการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง รวมทั้งการประมง การคมนาคมทางน้ํา และการปล่อยน้ํา ผลักดันน้ําเค็มและน้ําเน่าเสีย
ไฟป่ามักจะเกิดในช่วงฤดูแล้งหรือสภาพป่าที่แห้งแล้ง การทําฝนหลวงในช่วงฤดูแล้งจะช่วย สร้างความชุ่มชื้นให้แผ่นดินและผืนป่า ทําให้โอกาสเกิดไฟป่าลดลง หรือบางครั้งมีฝนตกลงไปดับไฟป่าได้โดยตรง
1.ความชื้นในอากาศสูง 2.อากาศลอยตัวในแนวตั้งได้ดี 3.พื้นที่เป้าหมายอยู่หน้าเขา 4.พื้นที่เป้าหมายมีป่าหรือมีพืชปกคลุม
หมอกควันในอากาศส่วนใหญ่เกิดจากไฟป่าและการเผาเศษซากพืชหลังการเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็นหุบเขาในภาคเหนือในช่วงฤดูหนาว การทําฝนหลวงจะทําให้มีฝนตกลงมาซับละอองหมอกควันในอากาศให้เจือจางลงได้
ลูกเห็บจะเกิดในช่วงที่มีพายุฤดูร้อน ซึ่งเมฆจะมีขนาดใหญ่ ก่อยอดสูงและเย็นจัดจนเม็ดน้ําใน ยอดเมฆกลายเป็นเม็ดน้ําแข็งแล้วตกลงมาเป็นลูกเห็บ การทําฝนหลวงจะทําให้เกิดเป็นฝนตกก่อนที่เมฆจะใหญ่มากจนเกิดลูกเห็บ
การทําฝนหลวงสามารถทําได้ทุกวันและทุกฤดูกาล แต่ประสิทธิภาพและความสําเร็จจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสภาพอากาศ เช่น ความชื้นในอากาศ ความทรงตัวของอากาศ ทิศทาง และความเร็วของลม เป็นต้น
การทําฝนหลวงในฤดูฝนจะทําได้ดีที่สุด เนื่องเป็นฤดูเพาะปลูกของพืชเศรษฐกิจ มีพื้นที่ที่ ประสบภัยแล้งมากกว่าและมีจํานวนวันที่สามารถทําฝนหลวงได้มากกว่า ทําให้ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่าการทําฝนหลวงในฤดูอื่นๆ
จากการติดตามประเมินผลในแต่ละปี พบว่าการทําฝนหลวงช่วยเหลือเกษตรกรรมและป่าไม้ ไม่น้อยกว่า 150 ล้านไร่ต่อปี
สามารถทําฝนได้ในบางช่วงเวลาที่สภาพอากาศเอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติการทําฝน (ความชื้น สัมพัทธ์ในอากาศไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 และความเร็วลมชั้นบนที่ระดับความสูง 5,000 ฟุต ถึง 10,000 ฟุต ไม่เกิน 37 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) โดยกรมฝนหลวงและการบินเกษตรจะจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงเคลื่อนที่เร็ว เพื่อช่วยเหลือประชาชนและเกษตรกรที่เดือดร้อนจากปัญหาภัยแล้ง ในช่วงที่มีสภาพอากาศเหมาะสม เป็นระยะเวลาสั้นๆ
จากการติดตามประเมินผลในแต่ละปีพบว่า การทําฝนหลวงสามารถทําให้ฝนตกในพื้นที่ เป้าหมายได้ไม่ต่ํากว่า 95 เปอร์เซ็นต์ของวันที่ขึ้นปฏิบัติการ
ฝนที่ตกจากปฏิบัติการฝนหลวง มีโอกาสเกิดปรากฎการณ์ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่าได้ เหมือนกับการเกิดฝนธรรมชาติเนื่องจากในบางวันเมฆที่พัฒนาเป็นเมฆฝนได้ (เมฆคิวมูลัส) สามารถเป็นเมฆฝน ฟ้าคะนองได้ (เมฆคิวมูโลนิมบัส) ซึ่งในวันที่บรรยากาศชั้นล่างมีความชื้นสัมพัทธ์สูง (ประมาณร้อยละ 60) อากาศมีการทรงตัวไม่ดีหรือมีการก่อตัวของยอดเมฆดีมากและยอดเมฆมีความสูงเกินระดับอุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียสขึ้นไป จะทําให้เกิดฝนตกหนัก ซึ่งตกเป็นเวลายาวนานและมีปริมาณน้ําฝนสูง ซึ่งมีโอกาสเกิดปรากฎการณ์ฟ้าแลบฟ้าร้องฟ้าผ่าได้
วิธีการทําฝนหลวงมี 6 ขั้นตอนได้แก่ 1) ก่อกวนหรือก่อเมฆ 2) เลี้ยงให้อ้วน 3) โจมตีแบบ แซนด์วิช 4) เสริมการโจมตี 5) โจมตีแบบเมฆเย็นแบบพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ 6) โจมตีแบบซุปเปอร์แซนด์วิช
การก่อกวนหรือก่อเมฆเป็นการโปรยสารสูตรแกน (เกลือแป้ง) ไปดูดความชื้นจากอากาศให้ เกิดเป็นเม็ดน้ําเพื่อเร่งให้เมฆก่อตัวเร็วขึ้น และมีปริมาณน้ํามากขึ้นบริเวณต้นลมของพื้นที่เป้าหมาย
การเลี้ยงให้อ้วน เป็นการโปรยสารสูตรร้อน (แคลเซียมคลอไรด์) เข้าสู่ยอดเมฆ เพื่อเร่งการ เจริญเติบโตของเมฆและเม็ดน้ําในก้อนเมฆ ทําให้เมฆหนาแน่นมากขึ้นก่อนจะลอยถึงเป้าหมาย
การโจมตีแบบแซนด์วิช เป็นการโปรยสารสูตรแกน (เกลือแป้ง) บริเวณไหล่เมฆ และโปรยสูตรเย็น (ยูเรีย) ชิดฐานเมฆ เพื่อเร่งให้เมฆตกเป็นฝนขณะที่ลอยอยู่เหนือพื้นที่เป้าหมาย
การเสริมการโจมตีเป็นการโปรยสารสูตรเย็น (เกล็ดน้ําแข็งแห้ง) บริเวณต่ํากว่าฐานเมฆ ประมาณ 1,000 ฟุต เพื่อลดความร้อนของอากาศ ลดการระเหยของน้ํา ทําให้ฝนตกถึงพื้นดินมากขึ้น
การทําฝนหลวงเมฆอุ่นจะปฏิบัติการที่ระดับ 3,000 – 10,000 ฟุต ส่วนการทําฝนหลวงเมฆเย็นจะปฏิบัติการที่ระดับ 20,000 – 23,000 ฟุต
การโจมตีแบบพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ เป็นการโจมตีเมฆเย็นที่มียอดสูงกว่า 20,000 ฟุต ด้วยการ ยิงพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ที่ยอดเมฆ ทําให้เกิดผลึกน้ําแข็งและรวมตัวกันเป็นเมฆใหญ่ตกลงมาละลายเป็นน้ําฝน
การโจมตีแบบซุปเปอร์แซนด์วิช เป็นการโจมตีเมฆเย็นที่มียอดสูงกว่า 20,000 ฟุต โดย ประสานการโปรยสารในขั้นตอนที่ 3, 4 และ 5 พร้อมกัน บังคับให้ปริมาณน้ําในก้อนเมฆตกลงมาเป็นฝนให้มากที่สุด
ระยะเวลาที่ใช้ในการทําฝนนั้นขึ้นอยู่กับสภาพอากาศว่ามีความเหมาะสมเพียงใด ซึ่งโดยปกติ เมื่อเริ่มปฏิบัติการตั้งแต่ขั้นตอนแรก "ก่อกวน" ซึ่งจะเริ่มในตอนเช้าเพื่อเป็นการก่อเมฆ และเมื่อเมฆก่อตัว จึงปฏิบัติการขั้นตอนต่อไปคือ "เลี้ยงให้อ้วน" และ "โจมตี" ซึ่งโดยปกติแล้วจะเริ่มปฏิบัติการและก่อให้เกิดฝนตกได้ในตอนบ่าย-ค่ำ
การทําฝนหลวงมีการใช้สารเคมีธรรมชาติบางชนิดที่ไม่มีอันตราย แบ่งเป็น 1) สารสูตรแกน ได้แก่ เกลือทะเล หรือเกลือสินเธาว์ 2) สารสูตรร้อน ได้แก่ แคลเซียมคลอไรด์ 3) สารสูตรเย็น ได้แก่ ยูเรีย และน้ําแข็งแห้ง
น้ําฝนที่เกิดจากการทําฝนหลวงสามารถดื่มได้แน่นอน ได้มีการตรวจวิเคราะห์แล้วว่ามีความ บริสุทธิ์อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ําดื่มน้ําใช้ขององค์การอนามัยโลก เช่นเดียวกับน้ําฝนธรรมชาติไม่มีอันตรายต่อคน สัตว์ และพืช
เนื่องจากใช้สารเคมีธรรมชาติที่ไม่มีอันตราย และใช้ในปริมาณที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับปริมาณน้ําในก้อนเมฆที่ตกลงมาเป็นฝนจึงไม่มีอันตรายใดๆ
มีคุณสมบัติ คือ สารฝนหลวงสูตรแกนจะช่วยดูดความชื้นจากอากาศ แล้วเกิดเป็นเม็ดน้ําขนาดเล็กๆ แล้วรวมตัวกันเป็นเมฆ