ฝนหลวงฯ เดินหน้าโครงการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาฝนหลวง พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้
วันที่ 24 กันยายน 2567 เวลา 09.30 น. นายราเชน ศิลปะรายะ รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ด้านบริหาร เปิดเผยว่า กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้จัดทำร่างแผนการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาฝนหลวง พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรอาศัยน้ำฝน และเป็นพื้นที่มีความเปาะบางด้านสภาพอากาศ เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่สำคัญของประเทศไทยและโลก
โดยมีเป้าหมายลดผลกระทบต่อผลผลิตข้าวหอมมะลิ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และยกระดับความสามารถในการปรับตัวของเกษตรกร ด้วยการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ตลอดจนเป็นศูนย์วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการดัดแปรงสภาพอากาศแบบใหม่ ต่อยอดตำราฝนหลวงพระราชทาน และถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ สู่ระดับสากล สำหรับในส่วนของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของการจัดตั้งศูนย์ฯ �จะใช้พื้นที่ของกรมฝนหลวง บริเวณอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ บนพื้นที่ 180 ไร่ เพื่อเป็นสถานที่พัฒนาเทคโนโลยีด้านการดัดแปรสภาพอากาศ และการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เพื่อเป็นการสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน รักษา ต่อยอด โครงการพระราชดำริ�ของในหลวงรัชกาลที่ 9 สำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีฝนหลวงให้กับพื้นที่ต่าง ๆ ที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยแล้งและภัยพิบัติ รวมทั้งการยกระดับความสามารถในการปรับตัวของเกษตรกรจากสภาพอากาศที่แปรปรวน �ด้วยการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำร่วม
.
นอกจากนี้ นายราเชน ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้เป็นพื้นที่รอยต่อของ �5 จังหวัด ได้แก่ จ.ร้อยเอ็ด จ.ยโสธร จ.มหาสารคาม จ.ศรีสะเกษ และจ.สุรินทร์ รวมถึงพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง �มีพื้นที่ประมาณ 2 ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 13 อำเภอ 5 จังหวัด ถือว่าเป็นพื้นที่ที่ปลูกข้าวหอมมะลิที่มีชื่อเสียง�เป็นอย่างมาก ทำให้สามารถส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศที่ช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย แต่มักจะได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ทำให้ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย และพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้นั้นอยู่นอกเขตชลประทาน จึงทำให้ต้องอาศัยน้ำฝนในการทำเกษตรเป็นหลัก ด้วยเหตุนี้ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร จึงมีแนวคิดในการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาฝนหลวง พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งจะมีส่วนช่วยทำให้ลดความเสียหายต่อผลผลิตข้าวหอมมะลิให้น้อยกว่า ร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับช่วงระยะ 5 ปีย้อนหลัง อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล หรือการเกิดอุทกภัยที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจะยกระดับให้เป็นสถานที่สำหรับการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัย ในการเพิ่มประสิทธิภาพการดัดแปรสภาพ โดยในระยะต่อไปจะผลักดันให้เกิดการดำเนินงานด้านความร่วมมือทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนบุคลากร สำหรับการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการดัดแปรสภาพอากาศกับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ และจะส่งเสริมให้กรมฝนหลวงฯ มีบทบาทในการเป็นผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยี และฝึกอบรมด้านการดัดแปรสภาพอากาศระดับประเทศ และระดับนานาชาติให้สำเร็จ ในการสนองนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การยกระดับคุณภาพชีวิตพี่น้องเกษตรกรไทยให้อยู่ดีกินดี สินค้าเกษตรมีมูลค่าสูง และทรัพยากรเกษตรยั่งยืน