เปลี่ยนการแสดงผล
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซด์
วันนี้
35865
เดือนนี้
5624585
เมื่อวาน
231055
เดือนที่แล้ว
6919354
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร เข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการกำกับการดำเนินงานโครงการอุทกวิทยาของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก(UNESCO-IHP RSC) ครั้งที่ 31
2 พฤศจิกายน 2567 50 ครั้ง
อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร มอบหมายให้นายฉันติ เดชโยธิน ผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์บรรยากาศประยุกต์และคณะ เข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการกำกับการดำเนินงานโครงการอุทกวิทยาของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก(UNESCO-IHP RSC) ครั้งที่ 31 ระหว่างวันที่ 29-31 ตุลาคม 2567 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้)

กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ในฐานะเป็นอนุกรรมการอุทกวิทยา โดยมีภารกิจในการดำเนินงานด้านอุทกวิทยาภายในประเทศและระหว่างประเทศเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ กำกับ ประสานและติดตามการดำเนินงานด้านอุทกวิทยาของประเทศให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนดในนโยบายและแผนหลักอุทกวิทยาแห่งชาติ ส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการอุทกวิยาให้สามารถใช้เป็นพื้นฐานทางวิชาการที่เข้าถึงได้ในทุกระดับ และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงในการบริหารจัดการน้ำ รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือทางอุทกวิทยาระหว่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ โดยการดำเนินการตามขั้นตอนภายใต้กรอบแผนงานด้านยุทธศาสตร์ ระยะที่ 9 งานอุทกวิทยาของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (UNESCO IHP-IX strategic Plan 2022-2029) ซึ่งมีเป้าหมายเชิงกลยุทธ์เพื่อยกระดับ “วิทยาศาสตร์เพื่อโลกที่ปลอดภัยจากน้ำในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง” ได้มีการเสนอให้ดำเนินกิจกรรมสำคัญเพื่อรับมือกับความท้าทายด้านน้ำผ่าน 5 ด้านหลัก

โอกาสนี้ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้เข้าร่วมเสวนาใน 3 ประเด็น ดังนี้
1. การวิจัยทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม โดยแบ่งปันข้อมูลในการจัดตั้งแพลตฟอร์มหรือเครือข่ายความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำที่หลากหลาย น้ำท่วม ภัยแล้ง ธารน้ำแข็งละลาย การขาดแคลนน้ำ การลดลงของน้ำใต้ดิน คุณภาพน้ำ น้ำทะเลสูงขึ้น และดินถล่มที่มักเกิดขึ้นทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และแสวงหาแนวทางแก้ไขที่เป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาน้ำผ่านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ก้าวหน้าและวิธีการใหม่ๆ

2. การศึกษาเกี่ยวกับน้ำในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมรวมถึงความยั่งยืน โดยร่วมมือสนับสนุนเทคโนโลยีที่เหมาะสมเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติอุตสาหกรรม การเสริมสร้างศักยภาพทั้งของสถาบันและบุคลากรในด้านน้ำ รวมถึงการจัดทำโปรแกรมการศึกษาและให้การศึกษาแก่ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ

3. การเชื่อมช่องว่างของข้อมูลและความรู้ โดยการเปรียบเทียบและร่วมกันแบ่งปันข้อมูลและผลดำเนินการค้นพบผ่านเครือข่ายข้อมูลที่เข้าถึงได้อย่างเปิดเผย เช่น UNESCO IHP WINS (ระบบเครือข่ายข้อมูลน้ำ) และกรอบการทำงาน ได้แก่การเผยแพร่และเปิดเผยข้อมูล ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้การวิจัยด้านอุทกวิทยามีความครอบคลุมมากขึ้น เท่าเทียม และยั่งยืนมากขึ้น

ทั้งนี้ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ร่วมส่งข้อมูลนำเสนอผลการดำเนินงานกิจกรรมด้านอุทกวิทยาของกรมฝนหลวงและการบินเกษตรของ UNESCO IHP-IX strategic Plan 2022-2029 โดยนำเสนอเรื่องการดัดแปรสภาพอากาศเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการในประเทศไทย จึงมีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญเพื่อเอาชนะความท้าทาย โดยมีการวิจัยเกี่ยวกับสารทำฝนหลวงทางเลือก ชื่อ AR23 ซึ่งมีประสิทธิภาพในความชื้นสัมพัทธ์ในบรรยากาศต่ำ

นอกจากนี้ ยังมีแผนศึกษาเกี่ยวกับสารทำฝนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเอาชนะความท้าทายด้านภูมิประเทศ จึงได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงด้วยเครื่องพ่นสารจากภาคพื้น (Ground Based Generator) และการวิจัยจะเน้นที่การวัดและปรับเปลี่ยนสภาพอากาศโดยใช้ยานบินไร้คนขับ (UAV) ซึ่งความก้าวหน้าทางการวิจัยและเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยปรับปรุงความมั่นคงด้านน้ำและอาหาร รวมถึงสนับสนุนการปรับตัวต่อสภาพอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการวางแผนการฟื้นตัวในอนาคต
ภาพและวีดีโอ