เปลี่ยนการแสดงผล
#อิสานม่วนหลาย
30 มิถุนายน 2563 631 ครั้ง

#อิสานม่วนหลาย
 ไปทั่วแคว้นแดนอีสาน ไปร่วมงานพื้นบ้านหมอแคน...
  แคนถูกยกให้เป็น “ราชาแห่งดนตรีพื้นเมืองอีสาน” “พิณ” เป็น “ราชินีแห่งดนตรีพื้นเมืองอีสาน” และในปีพ.ศ.2516 เพลง “อีสานลำเพลิน” เป็นเพลงแรกที่นำเอาทั้งแคนและพิณ มาบรรเลงประกอบเพลงผสมกับดนตรีสากลได้อย่างกลมกลืน และดัง เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป 
โอ... ...
โอ้ยละน้อ โอ โอ้ โอ่ เอ่อ
ละฟ้าเอ้ย ฟ้าสีแหล่ๆ
หอมดอกแคยามค่ำเอ่อ...
ต่อมาเพลงที่มีเสียงพิณบรรเลงเป็นที่นิยมคือเพลง “คอยรักจากเสียงพิณ” 
...อ้ายบอก จะไม่หลายใจ
ถึงสาวกรุงไฉไล
ก็ไม่ลืมแฟนเก่า
น้องยังคอย
อ้ายอยู่ทุกค่ำเช้า
หมดกฐินสิ้นหนาว
ยังเฝ้าคอยเสียง พิณ...
  เป็นที่ทราบกันดีว่าภาคอีสานมีความหลากหลายด้านวัฒนธรรม ประเพณี แต่แคนและพิณถือเป็นเครื่องดนตรีหลัก เพลงที่เล่นก็จะเป็นเพลงสนุกสนาน ร่าเริง เพื่อกระตุ้นความรู้สึกให้กระปรี้กระเปร่าสู้กับสภาพอากาศที่ค่อนข้างแห้งแล้ง อาหารก็จะเป็นอาหารพื้นบ้านง่ายๆแต่ออกแนวเค็ม เผ็ด และยังเป็นสังคมแบบชนบท ที่มีความเอื้ออาทรต่อกันเรียกว่ามีอะไรแลกเปลี่ยนกันกินได้ มีอะไรเกิดขึ้นจะรู้กันทั่วไปทั้งหมู่บ้าน  อีกทั้งการละเล่นและการแสดง จะออกแนวสนุกสนานเช่น ผีตาโขน โปงลาง การเซิ้งต่างๆ เป็นต้น ถ้าใครได้ไปร่วมงานรับรองม่วนอีหลีเด้อครับ! อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นลักษนะเด่นของชาวอีสานคือความเชื่อในเรื่องผีของชาวอีสานยังคงมีอยู่จวบจนปัจจุบันนี้ ความเชื่อดังกล่าวเข้ามาผูกพันในการประกอบอาชีพ เช่น การทำนาอันเป็นอาชีพที่ขึ้นอยู่กับสภาพของธรรมชาติดินฟ้าอากาศ อันมีน้ำเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งชาวอีสานเชื่อว่ามีผีแถนหรือพระยาแถนเป็นผู้คอยบันดาลให้ฝนตก ฝนจะตกต้องตามฤดูกาลหรือไม่ มีน้ำเพียงพอหรือไม่ ก่อนลงมือทำนาเมื่อย่างเข้าฤดูฝนจึงต้องมีพิธีกรรมขอฝนจากพระยาแถนโดยการจุดบั้งไฟเพื่อบูชาพระยาแถนซึ่งเป็นประเพณีที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อเป็นความหวัง และกำลังใจ ของชาวอีสานมาโดยตลอด
  บั้งไฟจะประกอบด้วย 3 ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกเรียกว่าเลาบั้งไฟเป็นส่วนที่บรรจุดินปืน ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกกลมยาวประมาณ 1.5-7 เมตร ส่วนที่2 คือ หางบั้งไฟ ทำหน้าที่เหมือนหางเสือ และส่วนสุดท้าย คือ ลูกบั้งไฟ จะเป็นวัสดุทรงกระบอกนำมามัดรอบๆเลาบั้งไฟเพื่อใช้ตกแต่งให้สวยงาม การประดิษฐ์บั้งไฟนี้ถือว่าเป็นภูมิปัญญาของชาวอีสานที่สืบทอดกันมายาวนาน แต่ในปัจจุบันวัสดุที่ใช้ในการทำบั้งไฟมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างจากเดิมใช้กระบอกไม้ไผ่ ปัจจุบันมีการนำท่อพีวีซีหรือท่อเหล็กมาประยุกต์ใช้ และมีการแข่งขัน หรือเดิมพันกันอีกด้วยว่าบั้งไฟใครจะขึ้นได้สูงกว่ากัน บั้งไฟชนิดนี้จะเรียกว่าบั้งไฟแสน ในทางวิทยาศาสตร์การจุดบั้งไฟขึ้นไปบนฟ้าเป็นเทคนิคการทำฝนรูปแบบหนึ่งดังเช่น ประเทศจีนมีการประยุกต์จรวดเพื่อใช้ในการทำฝน แต่สารที่ใส่เข้าไปจะเป็นคนละชนิดกัน จรวดทำฝนของจีนจะใส่ผงซิลเวอร์ไอโอไดด์ เป็นสารที่จะทำให้เมฆเย็นที่ก่อตัวตกลงมาเป็นฝน
  ส่วนในบ้านเรานั้นเมฆส่วนใหญ่จะเป็นเมฆอุ่น สารที่ใช้จึงแตกต่างจากสารในจรวดทำฝนของจีน ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ของปวงชนชาวไทยได้ทรงศึกษาและคิดค้นจนสำเร็จพระราชทานเป็นตำราฝนหลวงในรูปแบบภาพการ์ตูนอินโฟกราฟิกบรรจุอยู่ใน 1 หน้ากระดาษและมีการกล่าวถึงบั้งไฟอันเป็นประเพณีของชาวอีสานอีกด้วย
  ปัจจุบันการจราจรทางอากาศมีความหนาแน่นมากขึ้น การจุดบั้งไฟต้องได้การอนุญาตจากหน่วยงานที่ควบคุมการจราจรทางอากาศเสียก่อน มิฉะนั้นอาจจะเกิดอันตรายต่ออากาศยานได้ และเทวดาที่อยู่บนฟ้าอีกองค์หนึ่งนอกจากพระยาแถนที่คอยให้ฝนตามความเชื่อของพี่น้องชาวอีสานแล้วก็คือพระบิดาแห่งฝนหลวงซึ่งเคยเป็นเทวดาเดินดินมาก่อนที่ได้มอบตำราฝนหลวงพระราชทานไว้ให้พวกเราสืบสาน รักษา ต่อยอด เพื่อสร้างฝนให้คนไทยทั่วทั้งแผ่นดินเกิดความสุขร่มเย็นเสมอมา...
ขอขอบคุณ  นายรัตน ไวยะราบุตร ผู้ชนะเลิศโครงการประกวดภาพถ่าย-วาด ปี 2561
อุดมศึกษา ประชาชนทั่วไป
ชื่อผลงาน: ฝนผลวงเพื่อวิถีไทอีสาน
เทคนิค: สีอะคริลิค
#วิทยาศาสตร์ใช้สืบสานรักษาต่อยอดภูมิปัญญาได้อย่างยั่งยืน
#SaveThailand
#SaveRainmakingTeam
#Saveบุคลากรทางการแพทย์
#แล้งนี้ต้องรอด

ภาพและวีดีโอ