บทความ เกี่ยวกับขบวนพยุหยาตราชลมารค
2 ธันวาคม 2562
4,059
ครั้ง
บทความ เกี่ยวกับขบวนพยุหยาตราชลมารค
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคในแต่ละรัชสมัย
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค สมัยสุโขทัย
พระร่วงทรงใช้เรือออกไปลอยกระทง ณ กลางสระน้ำ
พร้อมทั้งเผาเทียนเล่นไฟในยามคืนเพ็ญเดือนสิบสอง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก
https://phralan.in.th/coronation/finalceremoniesdetail.php?id=810
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค สมัยกรุงศรีอยุธยา
กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองเกาะล้อมรอบด้วยแม่น้ำลำคลอง
เส้นทางน้ำจึงเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญของชาวกรุงศรีอยุธยา
ทั้งในยามศึกสงครามและยามสงบ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก
https://phralan.in.th/coronation/finalceremoniesdetail.php?id=810
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค สมัยกรุงธนบุรี
พระเจ้าตากสินมหาราชทรงสร้างเรือรบและเรือราชพิธีขึ้นใหม่
เนื่องจากเรือที่มีอยู่เดิมแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ถูกพม่าเผาไปเป็นจำนวนมาก
เรือที่ทรงสร้างในสมัยกรุงธนบุรี ได้แก่ เรือพระที่นั่งสุวรรณพิไชยนาวาท้ายรถ
เรือพระที่นั่งศรีสักหลาด และเรือโขมดยาปิดทองทึบ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก
https://phralan.in.th/coronation/finalceremoniesdetail.php?id=810
ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค (ใหญ่)เฉลิมฉลองในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ซึ่งทรง ครองราชย์นานกว่าพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ในอดีต
จัดเมื่อ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ อย่างยิ่งใหญ่ ในหลวง รัชกาลที่ ๙ ได้เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน
โดยขบวนพยุหยาตราชลมารค ณ วัดอรุณราชวรารามขบวนพยุหยาตราทางชลมารคครั้งนี้ ได้มีการจัดริ้วขบวนอย่างสวยงามและสง่ายิ่ง อีกทั้งยังมีเรือพระราชพิธีลำใหม่ คือ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ ซึ่งกองทัพเรือ และกรมศิลปากรร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย
ติดตามรายละเอียดได้จาก
https://phralan.in.th/coronation/finalceremoniesdetail.php…
เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ ถูกสร้างขึ้น โดยนำเอาโขนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ มาเป็นแบบ โดยมีหัวเรือพระที่นั่งจำหลักรูปพระวิษณุประทับยืนบนครุฑ
โขนเรือพระที่นั่งลำนี้ มิได้แสดงรูปพระรามซึ่งเป็นอวตารของพระวิษณุ ซึ่งพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ มีสมมติพระนามโดยเรียกตามนามของพระราม แต่ได้แสดงรูปพระวิษณุและลักษณะอันโดดเด่นของพระองค์ เช่น พระวรกายคล้ำ ในพระกรทั้ง ๔ ทรงถือจักร สังข์ คฑา และตรีศูล
ประทับบนครุฑยุดนาค หรือครุฑที่จับนาค 2 ตัวชูขึ้น ตามคัมภีร์ปุราณะ ครุฑกับนาคเป็นศัตรูกัน แต่ทั้งสองก็รับใช้พระวิษณุ
"ครุฑ" เจ้าแห่งนกทั้งหลาย เป็นสัญลักษณ์แห่งพลังของท้องฟ้า "นาค" เป็นสัญลักษณ์แห่งพลังของน้ำ เมื่อพระวิษณุอยู่เหนือครุฑและนาค ย่อมแสดงว่า
พระองค์ทรงมีพลังในการพิทักษ์ปกป้องโลกทั้งมวล
ในปี พ.ศ.๒๕๔๖ ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมว่าด้วย “ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ เอเซีย - แปซิฟิค ๒๐๐๓” (เอเปค)
ในการนี้รัฐบาลมอบหมายให้กองทัพเรือจัดแสดงขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เพื่อให้ผู้ร่วมประชุมเอเปคจากชาติต่าง ๆ ได้ชื่นชมความงดงามตระการตา และศิลปะทรงคุณค่าของขบวนเรือ ซึ่งมีเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น และนับเป็นครั้งแรกที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ (รัชกาลที่ ๙)
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เรือขบวนพยุหยาตราทางชลมารคมาจัดแสดง โดยที่มิใช่งานพระราชพิธี
ขบวนเรือพระราชพิธีเนื่องในวโรกาส สมเด็จพระราชาธิบดี และสมเด็จพระราชินีต่างประเทศ ร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๖๐ ปี
ในวันจันทร์ที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๔๙ โดยมีเส้นทางจาก ท่าวาสุกรี ถึง วัดอรุณราชวราราม
การจัดแสดงขบวนเรือพระราชพิธีในครั้งนี้ กองทัพเรือกำหนดใช้ เรือพระราชพิธีทั้งหมด รวม 52 ลำ
ประกอบด้วย เรือพระที่นั่ง 4 ลำ ได้แก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ โดยใช้กำลังพลจากหน่วยจากต่าง ๆ ในกองทัพเรือ เป็นฝีพายเรือพระราชพิธี ในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตร พร้อมสมเด็จพระราชาธิบดี และสมเด็จพระราชินี จาก ๒๘ ประเทศทั่วโลก
ติดตามรายละเอียดได้จาก
https://phralan.in.th/coronation/finalceremoniesdetail.php…
กระบวนพยุหยาตราชลทางมารค ในสมัยรัตนโกสินทร์
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นช่วงฟื้นฟูสร้างเรือขึ้นมาใหม่จากที่ถูกทำลายในช่วงเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ เพื่อใช้ในการรบและในราชพิธีต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก
https://phralan.in.th/coronation/finalceremoniesdetail.php…
...ดูเพิ่มเติม
เรือในพระราชพิธี
เครื่องดนตรีที่ใช้ในงานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร