เปลี่ยนการแสดงผล
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซด์
วันนี้
757
เดือนนี้
56229
เมื่อวาน
3626
เดือนที่แล้ว
38688
หลายคนอาจสงสัยว่าหลายพื้นที่ได้ประกาศภัยแล้ง ทำไมฝนหลวงถึงไม่ขึ้นบิน
24 กุมภาพันธ์ 2563 4,630 ครั้ง

หลายคนอาจสงสัยว่าหลายพื้นที่ได้ประกาศภัยแล้ง ทำไมฝนหลวงถึงไม่ขึ้นบิน วันนี้แอดมินมีคำตอบมาให้ค่ะ
ในการปฏิบัติการฝนหลวงจะต้องพึ่งพาปัจจัยหลายๆด้านโดยปัจจัยหลักๆ ก็คือ


1 ความชื้นสัมพัทธ์ คือ หน่วยวัดที่นิยมใช้ในการวัดระดับความชื้นในอากาศ ได้แก่ ความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity - rH) ซึ่งหมายถึง อัตราส่วน ของปริมาณไอน้ำ ที่มีในอากาศ ณ ขณะนั้นเทียบกับ ปริมาณไอน้ำที่อากาศจะรองรับได้ หากระดับไอน้ำ ณ ขณะนั้นมากเกินกว่า (> 100%) ความสามารถของอากาศ จะรองรับได้ ไอน้ำจะควบแน่น (Condensation) และกลายเป็นหยดน้ำในที่สุด 
ซึ่งในการขึ้นทำฝนหลวงแต่ละครั้ง จะต้องมีความชื้นสัมพัทธ์ในระดับ 60% ขึ้นไป เนื่องจาก ความชื้นสัมพัทธ์ยิ่งสูงเท่าไหร่ เท่ากับว่า ยิ่งมีไอน้ำในอากาศเป็นจำนวนมาก เป็นต้นทุนในการก่อให้เกิดเมฆ ซึ่งเป็นผลดีต่อการเกิดผล

2 ค่าดัชนีการยกตัวของอากาศ ที่ต้องมีค่าติดลบ จึงจะเหมาะแก่การปฏิบัติการฝนหลวงโดยตอนเช้าของทุกวัน สถานีเรดาร์ฝนหลวงแต่บะภูมิภาค จะทำการตรวจวัดสภาพอากาศในตอนเช้า และส่งข้อมูลให้กับ นักวิชาการ และนักวิทยาศาสตร์ เพื่อวางแผนในการปฏิบัติการฝนหลวงประจำวัน

3 ลม ความเร็วไม่เกิน 20 น็อต ลม ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการปฏิบัติการฝนหลวง เพราะถ้าหากลมแรงเกินไป อาจเกิดความไม่ปลอดภัยทางด้านนิรภัยทางการบิน และอีกทั้งทำให้เมฆสลายไปไม่จับตัวเป็นเมฆฝน

หากเงื่อนไขสภาพอากาศ เป็นไปตามข้อกำหนด กรมฝนหลวงและการบินเกษตร พร้อมที่จะขึ้นบิน เพื่อปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือพี่น้องประชาชนทั่วทุกพื้นที่

                ความชื้นสัมพัทธ์ คือ หน่วยวัดที่นิยมใช้ในการวัดระดับความชื้นในอากาศ ได้แก่ ความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity - rH) ซึ่งหมายถึง อัตราส่วน ของปริมาณไอน้ำ ที่มีในอากาศ ณ ขณะนั้นเทียบกับ ปริมาณไอน้ำที่อากาศจะรองรับได้ หากระดับไอน้ำ ณ ขณะนั้นมากเกินกว่า (> 100%) ความสามารถของอากาศ จะรองรับได้ ไอน้ำจะควบแน่น (Condensation) และกลายเป็นหยดน้ำในที่สุด แรงดันไอน้ำ และความสามารถในการรองรับปริมาณไอน้ำ ณ อุณหภูมิที่สูงกว่า จะมีมากกว่าแรงดันไอน้ำ และ ความสามารถ ในการรองรับปริมาณไอน้ำ ณ อุณหภูมิที่ต่ำกว่า โดยเหตุนี้การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ จะมีผลโดยตรงต่อแรงดันไอน้ำ และความสามารถดังกล่าว ระดับอุณหภูมิที่ทำให้ไอน้ำเกิดการอิ่มตัว (Saturation) และควบแน่น เรียกว่า จุดน้ำค้าง (Dew Point) ตารางต่อไปนี้ แสดงถึงจุดน้ำค้าง (องศาเซลเซียส-c) แรงดันไอน้ำ และปริมาณไอน้ำ ณ อุณหภูมิต่าง ๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.tanapolvanich.com/dry-bag/html/Relative_Humidity_th.htm
                 ในการขึ้นทำฝนหลวงแต่ละครั้ง จะต้องมีความชื้นสัมพัทธ์ในระดับ 60% ขึ้นไป เนื่องจาก ความชื้นสัมพัทธ์ยิ่งสูงเท่าไหร่ เท่ากับว่ายิ่งมีไอน้ำในอากาศเป็นจำนวนมาก เป็นต้นทุนในการก่อให้เกิดเมฆ ซึ่งเป็นผลดีต่อการเกิดผล



 

 

ภาพและวีดีโอ