เปลี่ยนการแสดงผล
#เขื่อนธรรมชาติเสริมพลังRยกกำลัง2
29 พฤษภาคม 2563 348 ครั้ง
#เขื่อนธรรมชาติเสริมพลังRยกกำลัง2
ป่าไม้เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของพื้นที่ลุ่มรับน้ำของอ่างเก็บน้ำต่างๆโดยมีเขื่อนกั้นทางน้ำที่น้ำไหลหลากมาจากลุ่มรับน้ำทำให้เกิดเป็นอ่างเก็บน้ำมีปริมาณน้ำที่เก็บกักได้ปริมาณมากน้อยขึ้นกับขนาดของเขื่อน และปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อน เขื่อนจึงมีหน้าที่ในการช่วยลดปริมาณน้ำส่วนเกินที่จะไหลเข้าท่วมชุมชนท้ายเขื่อน และเก็บน้ำไว้ใช้ในยามแล้ง ขณะเดียวกันป่าไม้ยิ่งอุดมสมบูรณ์มากเท่าไหร่ก็จะทำหน้าที่เป็นเขื่อนธรรมชาติได้ดีเท่านั้น เพราะต้นไม้แต่ละต้นจะเปรียบเสมือนฝายคอยชะลอน้ำให้ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเข้าในอ่างเก็บน้ำช้าๆ ช่วยเขื่อนที่มนุษย์สร้างขึ้นค่อยๆรับมือกับน้ำที่จะไหลหลากจากพื้นที่ลุ่มรับน้ำลงมาในอ่างเก็บน้ำนั้นๆ และมีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนได้อย่างต่อเนื่อง
ป่าไม้ยังเป็นแหล่งอาหารของคนและสัตว์ที่สำคัญ และยังเป็นแหล่งผลิตอากาศที่ดี ตลอดจนสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศได้ดีอีกด้วย จากความสำคัญของป่าไม้ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร จึงได้มีการพัฒนาโครงการจากโครงการ R ยกกำลัง2 ที่เป็นการทำงานแบบประสานความร่วมมือระหว่างกรมฝนหลวงฯและกรมชลประทาน มาเป็นโครงการความร่วมมือ Rยกกำลัง3 เพื่อการบริหารจัดการน้ำและป่าต้นน้ำอย่างบูรณาการภายใต้พื้นที่โครงการเขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี โดยมีนายมารุต ราชมณี และน.ส. อรุณโรจน์ ศรีเจริญโชติ ประสานและกำกับโครงการร่วมกับทีมล่าเมฆแดนทักษิณ โดยหน่วยงานต่างๆมีกิจกรรมที่เกื้อกูลกันดังนี้
หน่วยงานR1 กรมป่าไม้ (Royal Forest Department) ก่อตั้งปี 2439 ดำเนินการสำรวจพื้นที่เป้าหมาย เพื่อวางแผนอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำเขื่อนแก่งกระจาน โดยมีกิจกรรม การปลูกป่าต้นน้ำ และการแจกกล้าไม้ เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าต้นน้ำเขื่อนแก่งกระจาน หน่วยงาน R2 กรมชลประทาน(Royal Irrigation Department) ก่อตั้งปี 2445 ดำเนินการประเมินสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ และความต้องการน้ำในพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อกำหนดพื้นที่เป้าหมายร่วมกับกรมฝนหลวงและการบินเกษตรในการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน พร้อมทั้งตรวจวัดปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนแก่งกระจานเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประเมินปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนจากการปฏิบัติการฝนหลวง หน่วยงานR3 กรมฝนหลวงและการบินเกษตร (Department of Royal Rainmaking and Agricultural Aviation)ดำเนินการปฏิบัติการฝนหลวงตั้งแต่เดือนมีนาคม - ตุลาคม 2560 เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่พื้นที่เกษตรกรรม และเติมน้ำในเขื่อนแก่งกระจาน พร้อมทั้งประเมินปริมาณน้ำไหลลงเขื่อน และปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่เกษตรกรรมจากการปฏิบัติการฝนหลวงในช่วงดังกล่าว ในปี2660 กรมฝนหลวงฯสามารถเติมน้ำให้เขื่อนแก่งกระจานได้ 62.31 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 13.84 % ของปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนแก่งกระจานตามธรรมชาติ และมีปริมาณฝนเพื่อเสริมน้ำต้นทุนพื้นที่เกษตรกรรมในเขตชลประทานของโครงการเขื่อนแก่งกระจาน 58.18 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งผลให้สามารถลดการระบายน้ำจากเขื่อนเพื่อช่วยเหลือพื้นที่เกษตรกรรม ช่วงเดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2570 จำนวน 32.89 ล้านลูกบาศก์เมตร จากแผนที่กำหนดการระบายในช่วงดังกล่าว สำหรับการปลูกป่าต้นน้ำและแจกกล้าพันธุ์ไม้ให้ประชาชนในพื้นที่เพื่อช่วยกันปลูกจำนวนทั้งสิ้น 200,000 กล้า ซึ่งดำเนินการโดยกรมป่าไม้ ปี 2563 กรมฝนหลวงได้ดำเนินการขึ้นบินจำนวน 54 วัน มีฝนตกจำนวน 47 วัน จากจำนวน 148 เที่ยวบิน มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อน 44.20 ล้านลูกบาศก์เมตร โดนทีมนักล่าเมฆแดนทักษิณ 2 หนุ่มจากภาคกลาง นายศราวุธ ชโลธร และนายทรงพล มิตตัสสา และทีมนักบินล่าเมฆประกอบด้วย น.ท.มณีพันธ์ รบชนะชัย นายทศพล วัดวิไลร.ต.อ.ณรงค์ธรรม ธัญรัตน์ชโลทร พ.ต.จำเนียร สามิภักดิ์ นายธราธร สุขคมขำ นายประชาชน ดิลกเลิศ และยังคงดำเนินการต่อไปเพื่อเติมน้ำให้เขื่อนแก่งกระจานและช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอย่างต่อเนื่อง ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลและพระอัจฉริยภาพของกษัตริย์ไทยแต่ละพระองค์ ที่ทรงเล็งเห็นสภาพการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ และบ้านเมืองที่จะเกิดขึ้นอันนำมาซึ่งความเดือดร้อนของประชาชน 
พระองค์จึงทรงก่อตั้งหน่วยงานต่างๆเพื่อเป็นทำหน้าที่ช่วยเหลือประชาชนในการแก้ปัญหาความเดือดร้อน ดังเช่นสามหน่วยงานR ได้แก่ Royal Forest(RFD) Royal Irrigation Department(RID) และ Department of Royal Rainmaking and Agricultural Aviation(DRRAA) ที่ต้องทำงานประสานงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เสมือนความห่วงใยที่กษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงมีต่อปวงชนชาวไทยเสมอมา... #เชือกเส้นเดียวจะเหนียวน้อยกว่าเชือกหลายเส้นรวมกัน #SaveThailand #SaveRainmakingTeam #Saveบุคลากรทางการแพทย์ #แล้งนี้ต้องรอด #โควิด19พวกเราต้องรอด
เขียนโดย "ฟ้าโปรย"
ภาพและวีดีโอ