เปลี่ยนการแสดงผล
#ข้อมูลดีเปรียบเสมือนทองคำ
30 พฤษภาคม 2563 335 ครั้ง

#ข้อมูลดีเปรียบเสมือนทองคำ
ตุ้มตุ้มตุ้มๆๆๆๆๆๆ
ทีมนักล่าเมฆลั่นกลองรบกับกองโจรภัยแล้งดังขึ้น แม่ทัพทีมนักล่าเมฆได้ประกาศแม้ศึกครานี้ใหญ่หลวงนักเพราะกองโจรภัยแล้งกระจายไปทั่วหัวระแหง หากไม่มียุทธวิธีที่แยบยลแล้วไซร้มีอันต้องพ่ายต่อศึกครานี้เป็นแน่แท้ แต่ศึกครานี้เราต้องชนะมิฉะนั้นพี่น้องประชาชนจะต้องเดือดร้อนยิ่งนัก แม่ทัพจึงเลือกใช้ยุทธวิธีของซุนวูในการรบ ซุนวูกล่าวไว้ว่า "หากรู้เขารู้เรา แม้นรบกันตั้งร้อยครั้งก็ไม่มีอันตรายอันใด ถ้าไม่รู้เขาแต่รู้เพียงตัวเรา แพ้ชนะย่อมก้ำกึ่งอยู่ หากไม่รู้ในตัวเขาตัวเราเสียเลย ก็ต้องปราชัยทุกครั้งที่มีการยุทธนั้นแล" นั่นหมายความว่าก่อนจะทำการสิ่งใดต้องศึกษาข้อมูลให้ดีพอเสียก่อน อย่างไรก็ตามช้อมูลจะมี 2 รูปแบบด้วยกันคือ ข้อมูลหรือข้อมูลดิบ(Data) คือ ข้อมูลที่เป็นส่วนของข้อเท็จจริง โดยได้จากการเก็บมาจากเหตุการณ์ต่างๆ และข้อมูลสารสนเทศ (Information) คือข้อมูลที่นำมาผ่านกระบวนการเพื่อสามารถนำไปใช้ ในการตัดสินใจต่อไปได้ทันที หรือการนำข้อมูลดิบมาประมวลผลเพื่อการนำไปใช้งาน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จะเห็นว่าข้อมูลทั้งสองจะมีความแตกต่างกันแต่จะมีความสัมพันธ์กัน ข้อมูลสารสนเทศจะถูกต้องแม่นยำใช้งานได้ดีจะต้องมาจากข้อมูลที่ดีด้วยการจะรบกับกองโจรภัยแล้งตามยุทธวิธีของซุนวู ที่จะให้"รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง" ก็มีความจำเป็นต้องมีข้อมูลที่ดีเพื่อประกอบการตัดสินใจเช่นกัน ข้อมูลสารสนเทศความต้องการน้ำในพื้นที่จึงมีความจำเป็นที่จะนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจในการวางแผนการทำฝนในแต่ละวัน กรมฝนหลวงและการบินเกษตรจึงได้พัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แม่ข่ายเชิงพื้นที่ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต(Fonluang Geo Map Online) โดย 3 ขุนศึกได้แก่ ทหารเหล่าแผนที่ (นายรุต ราชมณี )ทหารเหล่าสื่อสาร (นายสราวุธ อาทยะกุล) และทหารหญิงเหล่าสารบรรณ (น.ส. อรุณโรจน์ ศรีเจริญโชติ) เป็นผู้รวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์จัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แม่ข่ายเชิงพื้นที่ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตให้กองทัพนักลาสเมฆใช้งาน การจัดทำระบบดังกล่าว เป็นการนำข้อมูลแผนที่ความต้องการใช้น้ำของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ 4 ชนิดได้แก่ ข้าว ข้าวโพด อ้อย และมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ของสำนักพัฒนาเทคโนโลยีอวดาศอละภูมอสารสนเทศ (องค์กรมหาชน)(GISTDA) และทดสอบความถูกต้องของข้อมูลเชิงพื้นที่กับข้อมูลที่ได้จากการสำรวจภาคสนาม (Ground Truth) หลังจากนั้นจึงทำการพัฒนาแบบจำลองเชิงพื้นที่ เพื่อประเมินความความต้องการใช้น้ำของพืชรายสัปดาห์ (Crop Water Requirement) หักลบกับค่าปริมาณฝนใช้การหรือฝนที่พืชวามารถนำไปใช้ได้(Effective Rainfall) เพื่อระบุพื้นที่ที่มีความต้องการน้ำของพืชทั้ง 4 ชนิดในช่วงเงลาต่างๆจัดเก็บในฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ (Geodatabase) ที่ 3 ขุนศึกได้พัฒนาขึ้น และนำเสนอข้อมูลเชิงพื้นที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แม่ข่ายเชิงพื้นที่ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร (Fonluang Geo Map Online) 
ระบบสารสนเทศนี้จะมีการปรับปรุงข้อมูลรายวัน(Daily Update) และแสดงชุดข้อมูลเชิงพื้นที่ได้พร้อมกัน ผ่านการซ้อนทับของข้อมูลในลักษณะแผนที่เดียว (One Map) ให้หน่วยรบของทีมนีกล่าเมฆตามหัวเมืองต่างๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว เพื่อใช้ประกอบการวางแผนทำฝนประจำวันจัดการกองโจรภัยแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หน่วยรบของทีมล่าเมฆตามหัวเมืองต่างๆจะมีการติดตามสภาพอากาศชั้นบนช่วงเช้า เพื่อวิเคราะห์เงื่อนไขความเหมาะสมของสภาพอากาศต่อการทำฝน ถ้าเงื่อนไขสภาพอากาศมีความเหมาะสมในการทำฝน เหล่านักรบตามหัวเมืองต่างๆของเราจะขึ้นบินล่าเมฆเพื่อจัดการเหล่ากองโจรภัยแล้ง โดยจัดลำดับการจัดการพวกกองโจรภัยแล้งจากข้อมูลสารสนเทศที่รู้สภาพความต้องการน้ำในพื้นที่มากน้อยต่างกันที่ 3 ขุนศึกนั้นได้จัดทำขึ้นมานั่นเอง
ทีมนักล่าเมฆมีข้อมูลที่ดีดั่งทองคำของพวกกองโจรภัยแล้งเยี่ยงนี้ รับรองว่ารบกันกี่ครั้งทีมนักล่าเมฆของเราคงจัดการได้ราบเป็นหน้ากองเป็นแน่แท้ พี่น้องประชาชนจะได้คลายทุกข์จากภัยแล้งให้หมดสิ้นไป...
#ผู้ให้ที่ดีต้องไม่ใช่ให้พลอยแก่ไก่
#SaveThailand
#SaveRainmakingTeam
#Saveบุคลากรทางการแพทย์
#แล้งนี้ต้องรอด
#โควิด19พวกเราต้องรอด
เขียนโดย "ฟ้าโปรย"


ภาพและวีดีโอ