เปลี่ยนการแสดงผล
#การตัดสินต้องมีมาตรฐาน
13 มิถุนายน 2563 280 ครั้ง

#การตัดสินต้องมีมาตรฐาน
  ท้องฟ้ากว้างใหญ่ไร้พรมแดน การเคลื่อนที่ของกระแสอากาศจึงสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระเป็นระยะทางไกลๆเป็นพันๆกิโลเมตร การตรวจติดตามสภาพอากาศจึงต้องกระทำเป็นบริเวณกว้างในเวลาเดียวกัน ก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการจัดตั้งองค์การอุตุนิยมวิทยาระหว่างประเทศ (INTERNATIONAL METEOROLOGICAL ORGANIZATION) เพื่อประสานงานอุตุนิยมวิทยาแต่ละประเทศ เพื่อกำหนดให้ทำการตรวจสภาพอากาศพร้อมกันทุกแห่งทั่วโลกเพื่อที่จะวิเคราะห์สภาพอากาศได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นการรวบรวมและกระจายผลการตรวจสภาพอากาศจำนวนมากมายเช่นนี้จะต้องมีการรับผิดชอบและจัดการร่วมกัน มีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับเวลาทำการตรวจวัด หน่วยที่ใช้รหัสอุตุนิยมวิทยาวิธีการต่างๆเกี่ยวกับการรับและกระจายข่าวสภาพอากาศ ตลอดจนค้นคว้าเทคนิคแผนใหม่ๆร่วมกัน ต่อมา พ.ศ.2490 ได้มีการประชุมหัวหน้าหน่วยบริการ อุตุนิยมวิทยาประเทศต่างๆ ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศต่างๆเหล่านี้จึงได้ร่วมกันก่อตั้งองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกขึ้นและได้มีอนุสัญญา ว่าด้วยอุตุนิยมวิทยาโลกเป็นหลักดำเนินการ โดยอนุสัญญานี้ใช้บังคับตั้งแต่ 23 มีนาคม พ.ศ.2491 และประเทศไทยได้ร่วมเป็นภาคี ในอนุสัญญาเมื่อ 23 มีนาคม 2493 ปัจจุบันองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก( World Meteorological Organization, WMO) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเจนิวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ 
  สำหรับประเทศไทย โดยกรมอุตุนิยมวิทยา ได้รับผิดชอบตรวจวัดสภาพอากาศและนำข้อมูลเข้าในระบบของWMO จำนวน 3 สถานีได้แก่ เชียงใหม่ ภูเก็ต สงขลา ภายใต้ระหัสที่ถูกกำหนดดังนี้ 48327 VTCC Chiang Mai48565 VTSP Phuket และ 48568 VTSH Songkhla
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาล9 ทรงสาธิตการปฏิบัติการฝนหลวงให้นักวิทยาศาสตร์ชาวสิงคโปร์ดูนั้น พระเกียรติคุณได้แพร่หลายออกสู่การรับรู้ของนานาประเทศ ทำให้องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกได้มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญฝนหลวงเข้าร่วมในการประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านการดัดแปรสภาพอากาศเป็นครั้งแรก เมื่อพ.ศ.2522 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ฝนหลวงเข้าไปมีบทบาทด้านการดัดแปรสภาพอากาศในระดับนานาชาติ  ต่อมาองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก(WMO) ซึ่งมีประเทศสมาชิกจากทั่วโลก ได้จดทะเบียนให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศ ที่มีกิจกรรมการดัดแปรสภาพอากาศ(การทำฝน)ตั้งแต่ปี 2525 และคณะอนุกรรมการว่าด้วยภูมิอากาศแห่งอาเซียนและองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกได้มีมติให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการดัดแปรสภาพอากาศในภูมิภาคเขตร้อน เมื่อปี 2527 และยังมีมติยืนยันหนักแน่นอีกครั้งในปี 2537 ทำให้ประเทศไทยเข้าไปมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในกิจกรรมการดัดแปรสภาพอากาศในระดับนานาชาติและระดับโลก จนกระทั่งในปี2542 ประเทศไทยได้รับเกียรติจาก WMO ให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยการดัดแปรสภาพอากาศครั้งที่ 7 ซึ่งประเทศไทยได้มีการรายงาน ยืนยันผลสัมฤทธิ์ และประสิทธิภาพในการทำฝนจากเมฆเย็นและเมฆอุ่นจนเป็นที่ยอมรับจากนักวิทยาศาสตร์นานาชาติที่เข้าร่วมประชุมให้เป็น 1 ใน 3 จากรายงานทั้งหมดของประเทศที่เสนอรายงานต่อที่ประชุม
  นอกจากนี้ยังมีนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการดัดแปรสภาพอากาศ ซึ่งมีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติได้มีโอกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในวโรกาสต่างๆ ต่างตระหนักและกล่าวในทำนองเดียวกันถึงพระปรีชาสามารถว่าทรงรอบรู้ในวิทยาการด้านอุตุนิยมวิทยาอย่างลึกซึ้ง และพระอัจฉริยภาพที่ทรงนำมาประยุกต์ใช้ในการดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดฝนได้อย่างยอดเยี่ยม 
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2540 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ Prof.Dr. Godwin O.P. Obasi เลขาธิการองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกแห่งสหประชาชาติในฐานะผู้แทนองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก เข้าเฝ้าเพื่อกราบบังคมทูลเกล้าฯ ถวายโล่สัญลักษณ์องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกเพื่อเฉลิมพระเกียรติสดุดีพระปรีชาสามารถด้านอุตุนิยมวิทยา 
  นับว่าเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในโลกที่องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกได้กราบบังคมทูลเกล้าฯถวายการยกย่องพระเกียรติคุณด้านการประยุกต์อุตุนิยมวิทยา เพื่อช่วยลดผลกระทบจากภัยพิบัติธรรมชาติที่มีต่อมวลมนุษยชาติให้น้อยลง
#การยอมรับจากผู้รู้เป็นการยืนยันในความรู้
#SaveThailand
#SaveRainmakingTeam
#Saveบุคลากรทางการแพทย์
#แล้งนี้ต้องรอด

ภาพและวีดีโอ