เปลี่ยนการแสดงผล
#ขุนศึกตระกูลหยาง
29 มีนาคม 2564 908 ครั้ง
#ขุนศึกตระกูลหยาง

เรื่องราวขุนศึกตระกูลหยางเขียนขึ้น โดย ถัวถัว นักเขียนชาวมองโกล ในยุคราชวงศ์หยวน เป็นเรื่องราวที่แสดงให้เห็นถึงตระกูลหยางที่มีความจงรักภักดี กล้าหาญ และพร้อมที่จะตายในสนามรบได้อย่างสมศักดิ์ศรี ตระกูลนี้มีการรับราชการทหารทั้งตระกูลมา 3 ชั่วอายุคน ทั้งเมื่อเหล่าผู้ชายตายลง ผู้หญิงซึ่งเป็นภรรยาม่าย และเหล่าลูกหลานในตระกูลก็รับหน้าที่สืบทอดต่อแทน

เรื่องราวขุนศึกตระกูลหยาง ได้นำไปถ่ายทอดในรูปแบบต่างๆทั้งอุปรากรจีน ภาพยนตร์จีนฮ่องกงก็เคยนำมาแสดง และได้มีการออกอากาศในประเทศด้วย ซึ่งเป็นตอนที่"หยางจงเป่า" ซึ่งเป็นบุตรชายของหยางลิ่วหลางพร้อมกับภรรยาของตน "มู่กุ้ยอิง" และพวกหญิงม่าย ผู้ซึ่งเคยเป็นภรรยาของพี่น้องตระกูลหยางที่สิ้นชีพไปแล้วทั้งหมด นำทัพปราบเมืองไซฮวน จนได้รับชัยชนะ นำความสงบสุขมาสู่บ้านเมือง

เรื่องราวของขุนศึกตระกูลหยางสะท้อนให้เห็นว่า ผู้หญิงหากมีความมุ่งมั่นแล้ว ไม่ว่างานรบที่ปกติจะเป็นหน้าที่ของเหล่าผู้ชาย แต่ก็สามารถกระทำได้ดีไม่แพ้ผู้ชายอกสามศอก โดยการรบของคนเหล่านี้ก็ต้องอาศัยตำราพิชัยสงคราม หรือยุทธศาสตร์ในการรบ

ปัจจุบันการทำงานทั้งในภาคราชการและเอกชนต่างก็นำแนวคิด"ตำราพิชัยสงคราม"หรือ"ยุทธศาสตร์ในการรบ" มาประยุกต์ใช้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดทำยุทธศาสตร์ของหน่วยงานเพื่อเป็นเข็มทิศเดินทางของหน่วยงานให้บรรลุผลสำเร็จ

กรมฝนหลวงและการบินเกษตรก็มีความจำเป็นที่ต้องดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์หรือแผนแม่บทด้านการดัดแปรสภาพอากาศเช่นเดียวกัน และได้จัดทำแผนดังกล่าวเป็นระยะ 20 ปี ภายใต้ความรับผิดชอบของกองแผนงาน

กองแผนงานของกรมฝนหลวงฯเป็นการบริหารจัดการโครงสร้างแบ่งส่วนราชการภายใน นั่นหมายความว่า กรมฝนหลวงฯยังไม่มีกองแผนงานที่ถูกต้องตามการแบ่งส่วนราชการตามกฏกระทรวง เหมือนหน่วยงานอื่นๆ เป็นแค่เพียงการรวบรวมบุคลากรของ 2 กลุ่มงานคือกลุ่มแผนงาน และกลุ่มติดตามประเมินผล มาจัดตั้งเป็นกองแผนงานเพื่อให้สามารถเกิดความคล่องตัวและพัฒนาศักยภาพให้เทียบเท่ากองแผนงานของกรมอื่นๆที่มีจำนวนบุคลากรมากกว่ากองแผนงานของกรมฝนหลวงฯเป็นอย่างมาก

กองแผนงานกรมฝนหลวงฯคงไม่ต่างจากทัพตระกูลหยางเพราะกองแผนงานของเรามีบุคลากรที่เป็นเหมือนเหล่าขุนศึกทั้งสิ้น 10 คน เป็นหญิง 9 คน และชายแค่เพียง 1 เดียว และมีพลทหารกองเสบียงจำนวน 3 คน โดยมีแม่ทัพหญิงคือ น.ส.เสาวนีย์ แก้วสุข (เสา) และอีก 9 ขุนศึกคือ
1. นายสิริโรจน์ พิมลลิขิต (บอล)
2. น.ส. อุมาพร มณีเรืองเดช (อุ้ย)
3. น.ส. อุมาพร หิตโกเมท (เป้า)
4. นางธริษศา กล่อมสมร (กอล์ฟ)
5. น.ส. รัตนากร ลาพงษ์ (พลอย)
6. น.ส. กรองรัตน์ ใจเสงี่ยม (มุก)
7. น.ส. มธุรส กิตติธรรมโรจน์ (แพรว)
8. น.ส. อนัญญา วังสตัง (มีม)
9. น.ส. กิตติวรรณ ประสิทธิผล (ฟลุ้ก)

เหล่าขุนศึกทั้ง 9 นายได้แบ่งความรับผิดชอบกันในแต่ละด้านได้แก่ ด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ ด้านแผนงาน ด้านงบประมาณ และด้านติดตามและประเมินผล ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องรับทั้งศึกภายนอกเพื่อจะต้องชี้แจงให้ได้มาซึ่งงบประมาณ และศึกภายในเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้หลังจากได้รับการจัดสรรงบประมาณมาแล้ว

แต่ศึกภายในนั้นไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด จึงทำให้ขุนศึกเหล่านี้มักจะโดนติวเข้มจากเจ้าสำนักฝนหลวงอยู่เสมอๆทำให้บางครั้งมีบางขุนศึกแอบน้ำตาตกบ้าง เสียงสั่นบ้าง เครียดกินประชดบ้างจนอวบอ้วนไปเกือบทุกขุนศึก และมีคนแอบกระซิบว่า เวลาเจ้าสำนักเรียกพบ ขุนศึกเหล่านี้มักจะคิดว่า"กูจะโดนมั้ยว่ะ" เลยพยายามเตรียมข้อมูลมาเป็นอย่างดี เพราะได้ข่าวว่าเจ้าสำนักฝนหลวงละเอียดมาก และชอบถามในสิ่งที่ไม่ได้เตรียม เรียกได้ว่าขุนศึกเหล่านี้ภารกิจนั้นหนักไม่ใช่น้อยเพราะกำลังพลน้อยกว่าภารกิจมากนัก

ถึงแม้กองทัพนี้จะมีพลทหารกองเสบียงคอยสนับสนุนด้านธุรการจำนวน 3 คนคือ
1. นางพิมพ์นารา สุทัศน์ ณ อยุธยา (โหน่ง)
2. น.ส. สุนทรี ปานมาก (นุ้ย)
3. นาย ณรงศักดิ์ ดงน้อย (ตี่)

ขุนศึกผู้กล้าทั้ง 10 นายก็ยังคงต้องใช้ชีวิตที่ทำงานในแต่ละวันไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง บางครั้งอาจจะเกินกว่านั้นเพราะต้องไปสแตนบายที่รัฐสภายันดึกดื่นเพื่อเตรียมให้ข้อมูลผู้บริหารในการชี้แจง

ยิ่งทำงานมากเท่าไร โอกาสที่จะเคยมีข้อผิดพลาดก็มากเท่านั้น จึงย่อมเคยถูกตำหนิ เคยถูกอบรมสั่งสอนมาอย่างแน่นอน ดังสุภาษิตที่ว่า "นักรบย่อมมีบาดแผล" และ ณ วันนี้คนเหล่านี้ก็ใช้บาดแผลเป็นบทเรียนที่มีคุณค่าพอที่จะต่อสู้เพื่อกรมฝนหลวงต่อไปโดยไม่ให้ด้อยไปกว่าหน่วยงานที่มีกองแผนงานโดยตรง

เขียนโดย "ฟ้าโปรย"
#บาดแผลเป็นบทเรียนให้จดจำ
ภาพและวีดีโอ