เปลี่ยนการแสดงผล
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซด์
วันนี้
189963
เดือนนี้
5079746
เมื่อวาน
262138
เดือนที่แล้ว
6919354
ฝนหลวง
สถานีเรดาร์
สถานีเรดาร์

Radar station

ปัจจุบันกรมฝนหลวงและการบินเกษตร มีระบบเรดาร์ตรวจกลุ่มฝนจำนวน 11 สถานี เพื่อใช้ในการปฏิบัติการฝนหลวง แบ่งออกเป็น สถานีเรดาร์แบบประจำที่ จำนวน 6 สถานี และ สถานีเรดาร์แบบเคลื่อนที่ จำนวน 5 สถานี ได้แก่

1

สถานีเรดาร์แบบประจำที่ ชนิด S Band ความถี่ 2.8 GHz มีจำนวน 6 สถานี ได้แก่
1.1
สถานีเรดาร์ฝนหลวงอมก๋อย ต.ยางเปียง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่

ภารกิจตรวจวัดกลุ่มฝนและสภาพอากาศทั่วไป ในเขตพื้นที่ภาคเหนือฝั่งตะวันตก ตรวจวัดการเกิดกลุ่มฝน/กลุ่มเมฆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนปฏิบัติการฝนหลวง ติดตามประเมินผลการปฏิบัติการฝนหลวง การยับยั้งลูกเห็บและการเตือนภัยให้อากาศยานขณะปฏิบัติการฝนหลวง

1.2
สถานีเรดาร์ฝนหลวงร้องกวาง ต.ทุ่งศรี อ.ร้องกวาง จ.แพร่

ภารกิจตรวจวัดกลุ่มฝนและสภาพอากาศทั่วไป ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนปฏิบัติการฝนหลวง ติดตามประเมินผลการปฏิบัติการฝนหลวง บริเวณภาคเหนือ และการเตือนภัยให้อากาศยานขณะปฏิบัติการฝนหลวง

1.3
สถานีเรดาร์ฝนหลวงตาคลี ต.ตาคลี อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

ภารกิจตรวจวัดกลุ่มฝนและสภาพอากาศทั่วไป ในเขตพื้นที่ภาคกลาง เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนปฏิบัติการฝนหลวง ติดตามประเมินผลการปฏิบัติการฝนหลวง บริเวณภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง และการเตือนภัยให้อากาศยานขณะปฏิบัติการฝนหลวง

1.4
สถานีเรดาร์ฝนหลวงพิมาย ต.รังกาใหญ่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา

ภารกิจตรวจวัดกลุ่มฝนและสภาพอากาศทั่วไป ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนปฏิบัติการฝนหลวง ติดตามประเมินผลการปฏิบัติการฝนหลวงและการเตือนภัยให้อากาศยานขณะปฏิบัติการฝนหลวง

1.5
สถานีเรดาร์ฝนหลวงสัตหีบ ต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

ภารกิจตรวจวัดกลุ่มฝนและสภาพอากาศทั่วไป ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนปฏิบัติการฝนหลวง ติดตามประเมินผลการปฏิบัติการฝนหลวงบริเวณภาคตะวันออก และการเตือนภัยให้อากาศยานขณะปฏิบัติการฝนหลวง

1.6
สถานีเรดาร์ฝนหลวงพนม ต.พนม อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี

ภารกิจตรวจวัดกลุ่มฝนและสภาพอากาศทั่วไป ในเขตพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตก เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนปฏิบัติการฝนหลวง ติดตามประเมินผลการปฏิบัติการฝนหลวงบริเวณภาคใต้ และการเตือนภัยให้อากาศยานขณะปฏิบัติการฝนหลวง

2

สถานีเรดาร์แบบเคลื่อนที่ ชนิด C Band ความถี่ 5.6 GHz มีจำนวน 5 สถานี

สถานีเรดาร์แบบเคลื่อนที่ สามารถย้ายไปปฏิบัติงานตามสถานที่ต่างๆ ได้ ตามความเหมาะสม โดยมีแผนการปฏิบัติงานเพื่อสนับสนุนหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงประจำภูมิภาคต่างๆ ดังนี้

2.1
สถานีเรดาร์ฝนหลวงอินทร์บุรี อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี

ภารกิจตรวจวัดกลุ่มฝนและสภาพอากาศทั่วไป ในเขตพื้นที่ภาคกลาง เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนปฏิบัติการฝนหลวง ติดตามประเมินผลการปฏิบัติการฝนหลวงและการเตือนภัยให้อากาศยานขณะปฏิบัติการฝนหลวง

2.2
สถานีเรดาร์ฝนหลวงบ้านผือ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

ภารกิจตรวจวัดกลุ่มฝนและสภาพอากาศทั่วไป ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนปฏิบัติการฝนหลวง ติดตามประเมินผลการปฏิบัติการฝนหลวง และการเตือนภัยให้อากาศยานขณะปฏิบัติการฝนหลวง

2.3
สถานีเรดาร์ฝนหลวงราษีไศล อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ

ภารกิจตรวจวัดกลุ่มฝนและสภาพอากาศทั่วไป ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนปฏิบัติการฝนหลวง ติดตามประเมินผลการปฏิบัติการฝนหลวง และการเตือนภัยให้อากาศยานขณะปฏิบัติการฝนหลวง

2.4
สถานีเรดาร์ฝนหลวงปะทิว อ.ปะทิว จ.ชุมพร

ภารกิจตรวจวัดกลุ่มฝนและสภาพอากาศทั่วไป ในเขตพื้นที่ภาคภาคใต้ตอนบน เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนปฏิบัติการฝนหลวง ติดตามประเมินผลการปฏิบัติการ ฝนหลวงและการเตือนภัยให้อากาศยานขณะปฏิบัติการฝนหลวง

2.5
สถานีเรดาร์ฝนหลวงสิงหนคร อ.สิงหนคร จ.สงขลา

ภารกิจตรวจวัดกลุ่มฝนและสภาพอากาศทั่วไป ในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนปฏิบัติการฝนหลวง ติดตามประเมินผลการปฏิบัติการฝนหลวง และการเตือนภัยให้อากาศยานขณะปฏิบัติการฝนหลวง

หมายเหตุ
1)
ระบบเรดาร์ ชนิด S Band: ใช้สำหรับการใช้งาน แบบติดตั้งประจำที่ เนื่องจากมีขนาดใหญ่
2)
ระบบเรดาร์ ชนิด C Band: ใช้สำหรับการใช้งาน แบบติดตั้งเคลื่อนที่ หรือแบบประจำที่ก็ได้ เนื่องจากมีขนาดเล็กกว่าระบบเรดาร์ ชนิด S Band