เปลี่ยนการแสดงผล
#อย่ามโน
10 สิงหาคม 2563 1,091 ครั้ง

#อย่ามโน
  ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่เก่าแก่เกิดขึ้นมานานกว่า 2500 ปีโดยมีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมเป็นคำสั่งสอน และมีพระสงฆ์เป็นผู้สืบทอดในการสั่งสอนพระพุทธศาสนา ถึงแม้ศาสนาพุทธกำเนิดขึ้นมาเป็นเวลาช้านาน แต่คำสั่งสอนไม่เคยที่จะล้าสมัย เข้ากับยุคสมัยเสมอเพราะความเป็นวิทยาศาสตร์ มีเหตุมีผลแม้แต่นักวิทยาศาสตร์ระดับโลกอย่างโรเบิร์ต ไอน์สไตน์ยังยอมรับ
รู้มั้ยว่าหลายๆทฤษฎีที่นำมาใช้ในปัจจุบันเกิดทีหลังคำสอนของพระพุทธศาสนาเสียอีก เพียงแต่ผู้เขียนในปัจจุบันนำมาเขียนเป็นทฤษฎีทางโลกให้ต่างจากทฤษฎีทางธรรมของพระพุทธองค์
  สหรัฐอเมริกานับเป็นประเทศหนึ่งที่มีการแต่งตำราออกมามากมาย ชาวต่างชาติรวมทั้งพี่ไทยก็จะนิยมชมชอบตำราเหล่านั้นซึ่งเราจะเรียกว่า textbook มันดูโก๋มากตอนสมัยเรียนถ้าเราถือตำราภาษาอังกฤษหรือเจ้าtextbookนั้น
ไม่เชื่อว่าทฤษฎีทางโลกมาจากคำสอนของพระพุทธศาสนาลองมาดูตัวอย่างกัน...
ชาวพุทธมามกะทุกท่านคงจะทราบหลักคำสอนเรื่องอริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ทุกข์คือความไม่สบายหรือปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น การประสบกับปัญหาภัยแล้ง...
สมุหทัยคือสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์หรือปัญหา เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพพื้นที่ สภาพแวดล้อม สภาพภูมิอากาศ โดยน้ำมือของมนุษย์จึงทำให้เกิดภัยแล้ง...
นิโรธคือหนทางแห่งการดับทุกข์หรือวิธีการแก้ปัญหา เช่น การปลูกป่าปลูกต้นไม้ให้มีความชุ่มชื้น การเก็บกักน้ำส่วนเกินไว้ใช้ในยามแล้ง การทำฝนหลวงเพื่อบรรเทาภัยแล้ง...
มรรคคือข้อปฏิบัติหรือรูปแบบวิธีการที่ไม่ให้เกิดทุกข์ เช่น ไม่ตัดไม้ทำลายป่า การสร้างแหล่งน้ำให้เหมาะสม การใช้น้ำอย่างถูกวิธี...
จากอริยสัจ4 นี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับทางโลกด้านวิทยาศาสตร์ได้ชัดเจน เช่น หลักการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม...
แม้แต่มหาวิทยาลัยชื่อดังระดับโลกอย่าง MIT ( Massachusetts Institute of Technology) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เสนอรูปแบบงานด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สอดคล้องกับอริยสัจ 4 ของพระพุทธเจ้า
  รูปแบบหรือโมเดลที่ MIT ได้มีการสอนแก่นักศึกษาคือ เริ่มจากการสืบค้นปัญหา การสืบค้นหาสาเหตุของปัญหา การหาวิธีแก้ปัญหา และการสร้างรูปแบบหรือโมเดลในการแก้ปัญหาเพื่อทดลองใช้ แล้วทำการประเมินเพื่อปรับแก้รูปแบบหรือโมเดลที่กำหนดขึ้นให้สามารถแก้ไขปัญหาได้สมบูรณ์ สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นั้นก็คือเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมนั่นเอง
  การปฏิบัติการฝนหลวงก็เป็นการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ที่ปฏิบัติตามรูปแบบที่กำหนดคือตำราฝนหลวงพระราชทาน แต่อย่างไรก็ตามสภาพภูมิอากาศมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การปฏิบัติการฝนหลวงจึงจำเป็นต้องปฏิบัติงานควบคู่ไปกับการทำวิจัยอีกด้วย โดยจะต้องคอยสืบค้นปัญหาและหาแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุงให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  ดังนั้นวัฒนธรรมองค์กรที่ชาวฝนหลวงพึงมีอีกด้านหนึ่งก็คือ S:Strategic Thinking "สร้างความคิดเชิงกลยุทธ์ " การคิดอย่างมีจุดมุ่งหมาย วางแผนและปฏิบัติอย่างเป็นระบบ คิดวิเคราะห์แบบมีหลักการ มองภาพองค์รวม เชื่อมโยงงานเพื่อบรรลุผลตามวิสัยทัศน์องค์กร
จะเห็นว่าชาวฝนหลวงนั้นต้องตั้งสติการทำงานด้วยเหตุและผล ความคิดต้องเป็นเชิงระบบ จะใช้ความรู้สึกในการตัดสินใจไม่ได้เพราะการทำฝนเป็นวิทยาศาสตร์ จึงทำให้ยิ่งอยู่ฝนหลวงนานเท่าไหร่ ยิ่งทำฝนหลวงมากเท่าไร จะถูกหล่อหลอมให้เป็นคนที่ทำอะไรก็ตามแม้แต่เรื่องชีวิตประจำวันจะเป็นคนที่มีเหตุผลในตนเอง ไม่ใช่จะมาคอยมโนกันไปวันๆ
เขียนโดย "หลงเมฆ"
#มโนต้องมโนสุจริตชีวิตจะได้ไม่ลบ
#SaveThailand
#SaveRainmakingTeam
#Saveบุคลากรทางการแพทย์
#แล้งนี้ต้องรอด

ภาพและวีดีโอ