เปลี่ยนการแสดงผล
#น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ
5 กันยายน 2563 2,345 ครั้ง
#น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ
น้ำเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิต...
น้ำในโลกใบนี้ที่เราสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้มีอยู่ 3 ประเภทด้วยกันคือน้ำบนฟ้า น้ำบนดิน และน้ำใต้ดิน ซึ่งทั้ง 3 น้ำนี้มีความสัมพันธ์กันที่เรียกว่าวัฏจักรน้ำคือ น้ำบนฟ้าตกลงมาสู่พื้นดินจะกลายเป็นน้ำบนดิน น้ำบนดินส่วนหนึ่งไหลซึมลงสู่ใต้ดินถูกเก็บกักไว้ในชั้นใต้ดิน และชั้นหินจะเรียกว่าน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล และน้ำที่เหลือจะไหลลงสู่ทะเล
สำหรับน้ำบนฟ้านั้นในแต่ละปี มนุษย์เราเดาใจในความเมตตาของธรรมชาติได้ค่อนข้างยาก แต่มนุษย์ก็ไม่หยุดความพยายาม โดยมีการศึกษาด้านอุตุนิยมวิทยาในการพิจารณาค่าเอนโซ่ (ENSO)เพื่อนำมาคาดการณ์ในโอกาสของการเกิดฝน
เอนโซ่ (ENSO / EN + SO)” เป็นการเรียกรวมกันของปรากฏการณ์เอลนิโญ่ (El Nino) กับความผัน
แปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ (Southern Oscillation) ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ท่ีมีความสัมพันธ์เช่ือมโยงกัน ระหว่างปรากฏการณ์ในมหาสมุทร (น้ํา) และบรรยากาศ (ลม)
เอลนิโญ่ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในมหาสมุทร ท่ีเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมินํ้า และการ ไหลเวียนของกระแสน้ํา ในกรณีท่ีอุณหภูมิน้ํา (บริเวณฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก) อุ่นขึ้นเรียกว่า เอลนิโญ่ และในทางกลับกันถ้าอุณหภูมินํ้าเย็นลง เรียกว่า ลานิญ่า
ปรากฏการณ์เอลนิโญ่จะส่งผลให้บ้านเราเกิดความแห้งแล้ง ปริมาณฝนต่ำกว่าปกติ และอุณหภูมิสูงกว่าปกติ ในทางกลับกันหากเกิดปรากฏการณ์ลานิญ่าจะทำให้ฝนตกมากกว่าปกติ และอากาศจะหนาวเย็นกว่าปกติ
ปี 2563 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเมษายน บ้านเราเจอกับปรากฏการณ์เอลนิโญ่อ่อนๆต่อเนื่องมาจากปี 2562 ทำให้เกิดสภาวะความแห้งแล้งและฝนตกปริมาณน้อยกว่าค่าเฉลี่ยเป็นอย่างมาก ส่วนช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคมเป็นสถานการณ์ปกติค่อนไปทางลินิญ่า แต่ปริมาณฝนเกือบทั้งประเทศก็ยังคงน้อยกว่าค่าปกติ
ตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคมเป็นต้นมาเริ่มเข้าสู่ปรากฎการณ์ลานิญ่าและมีแนวโน้มต่อเนื่องไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน เป็นช่วงความหวังโค้งสุดท้ายของฤดูฝนที่จะได้ฝนลงเขื่อนที่ยังมีปริมาณน้ำเก็บกักอยู่น้อยมากในหลายๆแห่ง รวมทั้งน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ประสบปัญหาฝนทิ้งช่วงโดยเฉพาะนาข้าวที่ยังไม่มีน้ำขังในกระทงนาเพียงพอที่ชาวนาจะได้ทำการหว่านปุ๋ยให้ข้าวที่กำลังจะตั้งท้องออกรวงให้ได้ผลผลิตพอเลี้ยงชีพชดเชยกับปีที่แล้วที่หลายพื้นที่เกิดความเสียหายทั้งจากภัยแล้งและอุทกภัย
แต่ปริมาณฝนตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 สิงหาคม พบว่าปริมาณฝนทั่วทุกภาคมีปริมาณต่ำกว่าค่าปกติยกเว้นภาคใต้ฝั่งตะวันออกที่มีปริมาณฝนมากกว่าค่าปกติโดยแต่ละภาคมีปริมาณฝนดังนี้
 ⁃ ภาคเหนือ 725.7 มม.ต่ำกว่าค่าปกติ 15%
 ⁃ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 890.8 มม. ต่ำกว่าค่าปกติ 12 %
 ⁃ ภาคกลาง 632.4 มม. ต่ำกว่าค่าปกติ 19%
 ⁃ ภาคตะวันออก 1,039.3 มม. ต่ำกว่าค่าปกติ 18%
 ⁃ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก 774.1 มม. สูงกว่าค่าปกติ 5 %
 ⁃ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก 1400.3 มม. ต่ำกว่าค่าปกติ 15 %
 ⁃ กรุงเทพฯ 896.9 มม. ต่ำกว่าค่าปกติ 7 %
แม้แต่ในช่วงฤดูฝนทั่วทุกภาคก็ยังมีปริมาณฝนต่ำกว่าค่าปกติ ยกเว้นภาคใต้ฝั่งตะวันออกเท่านั้นที่มีปริมาณฝนมากกว่าค่าปกติ
หากพิจารณาปริมาณฝนเป็นรายเดือนจะเห็นว่าแต่ละภาคยังมีปริมาณฝนมากกว่าค่าปกติเพียงบางเดือนเท่านั้นดังนี้
 ⁃ ภาคเหนือ เดือนเมษายนและสิงหาคม
 ⁃ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดือนมีนาคมและสิงหาคม
 ⁃ ภาคกลาง เดือนกรกฎาคมและสิงหาคม
 ⁃ ภาคตะวันออก เดือนเมษายนและมิถุนายน
 ⁃ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก เดือนกุมภาพันธ์ เมษายน มิถุนายน กรกฎาคมและสิงหาคม
 ⁃ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก เดือนพฤษภาคมและมิถุนายน
ปี 2563 นับว่าบ้านเราเผชิญกับสารพัดปัญหาตั้งแต่ปัญหาหมอกควันในกรุงเทพมหานคร และตามเมืองใหญ่โดยเฉพาะในภาคเหนือ ไฟป่าที่รุนแรงในหลายพื้นที่รวมทั้งภูกระดึงที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวอันขึ้นชื่อเรื่องธรรมชาติอันสวยงาม สภาพอากาศเย็นและท้าทายกับการเดินขึ้นภู พายุลูกเห็บและวาตภัยในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและอีกหลายพื้นที่ บางพื้นที่ก็ประสบฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลายาวนานกว่าปกติ บางพื้นที่ได้รับอิทธิพลของพายุซินลากูทำให้น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนพี่น้องประชาชน ตลอดจนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
สาเหตุที่เกิดปัญหาดังกล่าวส่วนใหญ่เกิดจากฝีมือมนุษย์ด้วยกันเองไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้ทำลายป่า การปลูกพืชเชิงเดี่ยว ไอเสียจากรถยนต์ ควันจากโรงงานอุตสาหกรรม การเผาขยะและตอซังของพืช ตลอดจนการใช้สารเคมีที่ทำลายชั้นบรรยากาศ จึงทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไป เกิดสภาวะโลกร้อนมากขึ้น ส่งผลให้เกิดปราฏการณ์เอลนิโญ่ถี่ขึ้นกว่าในอดีต
อย่างไรก็ตามหน่วยงานภาครัฐต่างพยายามให้ความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างเต็มที่ รวมทั้งกรมฝนหลวงและการบินเกษตรที่ได้รับการสั่งการให้ปรับแผนการเปิดปฏิบัติการฝนหลวงประจำปีให้เร็วขึ้นจากเดิมที่เปิดปฏิบัติการประจำปีตั้งแต่ 1 มีนาคมเป็นต้นไปเลื่อนมาเปิดตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์เป็นต้นมา โดยที่ทั้งทีมช่างซ่อมอากาศยาน ช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ต้องเร่งซ่อมบำรุงอากาศยานและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กันอย่างเร่งด่วนมากกว่าปกติ อีกทั้งนักบินต้องเร่งฝึกบินตามหลักนิรภัยการบินให้เสร็จเร็วขึ้นอีกด้วย
จากการเปิดปฏิบัติฝนหลวงประจำปีเร็วขึ้นนั้นสามารถช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรโดยเฉพาะชาวไร่ที่กำลังรอน้ำ รอฝน เพื่อไม่ให้ผลผลิตเกิดความเสียหายโดยเฉพาะพื้นที่ไร่อ้อย และมันสำปะหลังในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างเช่น บุรีรัมย์ และพื้นที่ใกล้เคียง ส่งผลให้ผลผลิตของพี่น้องเกษตรกรชาวไร่มีแนวโน้มดีกว่าปีที่ผ่านมาเป็นอย่างยิ่ง
หากพวกเราชาวไทยที่อยู่ภายใต้ร่มพระบารมีเดียวกัน มีธงไตรรงค์ผืนเดียวกันตั้งสติ ช่วยกันหาทางออก ช่วยกันแนะนำเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้ศักยภาพที่ตนมีอยู่...
ในช่วงเวลาโค้งสุดท้ายที่เรายังมีโอกาสได้รับฝน หากเราช่วยกันคนละไม้คนละมือตามหน้าที่ของตน ภาครัฐปฏิบัติงานกันอย่างเต็มที่โดยเอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง ภาคประชาชนช่วยกันประหยัดน้ำและหากสามารถสร้างแหล่งน้ำสำรองเป็นของตนเองช่วยกันเก็บน้ำให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อป้องกันความเสี่ยงในช่วงการขาดแคลนน้ำ ไม่มีอคติต่อกัน มีความคิดสร้างสรรค์ต่อกันแล้ว กำลังใจและน้ำใจที่มีต่อกันย่อมสร้างพลังได้เป็นอย่างดี
อีกทั้งด้วยพระบารมีของพระมหากษตริย์ทุกพระองค์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่นำพาบ้านเมืองให้รอดพ้นจากเหตุการณ์วิกฤตมาหลายครั้งหลายครา และความเป็นหนึ่งน้ำใจเดียวกัน รู้รักสามัคคีอย่างเช่นบรรพบุรุษในอดีตที่ผ่านมา พวกเราชาวไทยต้องรอดพ้นวิกฤตไปด้วยกันอย่างแน่นอน...
ขอขอบคุณข้อมูลปริมาณน้ำฝนจาก
ดร. กมล พรหมสาขา ณ สกลนคร 
ผอ. ส่วนวิเคราะห์ข้อมูลเรดาร์และดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา 
กองพยากรณ์อากาศ
กรมอุตุนิยมวิทยา
เขียนโดย "หลงเมฆ"
#ไม่มีพลังอะไรที่จะยิ่งใหญ่เท่าพลังสามัคคี
#SaveThailand
#SaveRainmakingTeam
#Saveบุคลากรทางการแพทย์
#แล้งนี้ต้องรอด
ภาพและวีดีโอ