เปลี่ยนการแสดงผล
นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม รองอธิบดีกรมฝนหลวง และการบินเกษตรด้านปฏิบัติการ ให้การต้อนรับ นายบัตเออร์เดเน บัตอุลซี ( Mr. BAT - ERDENE Bat- Ulzii) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวมองโกเลีย และ นายทูมูร์ อามาร์ซานา ( Mr. Tumur Amarsanaa) เอกอัครราชทูตมองโกเลียประจำประเทศไทย
2 ธันวาคม 2565 338 ครั้ง
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ให้การต้อนรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวมองโกเลีย พร้อมร่วมหารือโครงการความร่วมมือด้านการดัดแปรสภาพอากาศระหว่างไทย - มองโกเลีย
วันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 เวลา 14.00 น.นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม รองอธิบดีกรมฝนหลวง
และการบินเกษตรด้านปฏิบัติการ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร พร้อมคณะผู้บริหาร
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ร่วมให้การต้อนรับ นายบัตเออร์เดเน บัตอุลซี ( Mr. BAT - ERDENE Bat- Ulzii) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวมองโกเลีย และ นายทูมูร์ อามาร์ซานา ( Mr. Tumur Amarsanaa) เอกอัครราชทูตมองโกเลียประจำประเทศไทย เพื่อร่วมหารือโครงการความร่วมมือด้านการดัดแปร
สภาพอากาศระหว่างไทยกับมองโกเลีย ณ ห้องประชุมเทวกุล ชั้น 6 กรมฝนหลวงและการบินเกษตร โดยกรมฝนหลวง
และการบินเกษตร ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการปฏิบัติการฝนหลวง พร้อมนำเสนอภารกิจ
ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร และนำเสนอวิดีทัศน์ “การบริหารจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ
(กรณีพายุลูกเห็บ) ในพื้นที่การเกษตร นอกจากนี้ยังได้ร่วมกันหารือประเด็นความร่วมมือและแผนการทำงานในระยะต่อไป
นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม เปิดเผยว่า ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการดัดแปรสภาพอากาศระหว่างไทยกับมองโกเลีย เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2557 เมื่อเอกอัครราชทูตมองโกเลียประจำประเทศไทย มีหนังสือถึงสำนักราชเลขาธิการ เรื่อง ประธานาธิบดีแห่งประเทศมองโกเลีย ขอให้นำความกราบทูลสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อขอรับการสนับสนุนการจัดอบรมการปฏิบัติการฝนหลวงให้กับเจ้าหน้าที่มองโกเลีย เพื่อนำเทคโนโลยีฝนหลวงไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำฝนของประเทศ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ระหว่างสองฝ่ายมาโดยตลอด จนนำไปสู่การลงนามแผนงานปฏิบัติการร่วม เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2564 เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านการดัดแปรสภาพอากาศ เสริมสร้างขีดความสามารถในการบรรเทาความแห้งแล้ง และลดความเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนและการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนของทั้งสองประเทศ
นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม กล่าวทิ้งท้ายว่า ปัจจัยสำคัญของความสำเร็จในการดำเนินโครงการ
ความร่วมมือ คือความมุ่งมั่นตั้งใจ ความร่วมมืออย่างจริงใจของทั้งสองฝ่าย และความช่วยเหลือเกื้อกูลในการแก้ไขปัญหา จนสามารถก้าวผ่านอุปสรรคต่างๆ ไปได้ด้วยดี โดยกรมฝนหลวงและการบินเกษตร มีความยินดีและพร้อม
ที่จะสนับสนุน และขับเคลื่อนการดำเนินงานความร่วมมือให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ให้บรรลุวัตถุประสงค์
รวมทั้งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบุคลากรของทั้งสองฝ่ายจะได้รับการพัฒนาขีดความสามารถ และนำองค์ความรู้ที่ได้รับ
ไปพัฒนา ต่อยอด และปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง องค์กร ประชาชนและประเทศชาติต่อไป
ภาพและวีดีโอ