เปลี่ยนการแสดงผล
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซด์
วันนี้
175497
เดือนนี้
6618898
เมื่อวาน
259037
เดือนที่แล้ว
6499777
ฝนหลวงฯ รายงานความพร้อมการจัดงานประชุมเชิงปฏิบัติการ ASEAN Regional Seminar on Weather Modification 2024 ภายใต้ ASEAN Weather Modification Center
9 ตุลาคม 2567 79 ครั้ง
นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร มอบหมายให้ นางสาววาสนา วงษ์รัตน์ ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีฝนหลวงและคณะ เข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการอาเซียนด้านอุตุนิยมวิทยาและธรณีฟิสิกส์ (ASEAN Sub-Committee on Meteorology and Geophysics, ASEAN SCMG) ครั้งที่ 45 ระหว่างวันที่ 7-9 ตุลาคม 2567 ณ สาธารณรัฐสิงค์โปร์

การเข้าร่วมประชุม ASEAN SCMG ครั้งที่ 45 เป็นการประชุมต่อเนื่องจากการประชุม ASEANSCMG ครั้งที่ 44 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 ณ เกาะโบโฮล สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ซึ่งที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบขอบเขตและอำนาจหน้าที่ (TOR) ของศูนย์ดัดแปรสภาพอากาศอาเซียน (ASEAN Weather Modification Centre: AWMC) เพื่อเป็น HUB ในการสร้างความร่วมมือด้านวิจัย พัฒนาการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยีด้านการดัดแปรสภาพอากาศ และสนับสนุนกิจกรรมการดัดแปรสภาพอากาศ โดยมีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เป็นผู้ประสานงานหลักและฝ่ายเลขานุการถาวรของ AWMC พร้อมจัดตั้งสำนักงานของศูนย์ดังกล่าว ในประเทศไทย

โอกาสนี้ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้รายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานหรือกิจกรรมภายใต้ AWMC ซึ่งในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี พ.ศ. 2567 กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้เชิญประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศคู่เจรจาอาเซียน รวมทั้งองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก และประเทศเครือข่ายความร่วมมือด้านการดัดแปรสภาพอากาศในภูมิภาคเอเชีย และตะวันออกกลาง เข้าร่วมเป็นสมาชิก AWMC ซึ่งมีประเทศ
ที่สนใจและตอบรับการเข้าร่วมการเป็นสมาชิก จำนวน 9 ประเทศ/องค์การ ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ ไทย จีน ศรีลังกา และองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก

นอกจากนี้ ที่ประชุม ยังรับทราบความก้าวหน้าการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ASEAN Regional Seminar on Weather Modification 2024 (ASWM 2024) ระหว่างวันที่ 18 – 22 ตุลาคม พ.ศ. 2567
ณ กรุงเทพมหานคร และ จ.ชลบุรี ประเทศไทย อันเป็นการดำเนินงาน/กิจกรรมแรก ภายใต้ กรอบ
ความร่วมมือของ AWMC โดยมีประเทศที่เข้าร่วม ASWM 2024 ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ มองโกเลีย ศรีลังกา และประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง ได้แก่ จอร์แดน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อันเป็นการส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือที่จะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในชั้นบรรยากาศ บรรเทามลภาวะทางอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติในระดับภูมิภาคให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อไป
ภาพและวีดีโอ