เปลี่ยนการแสดงผล
ปฏิบัติการดับไฟป่าพรุโต๊ะแดง
22 พฤษภาคม 2562 2,371 ครั้ง

ปฏิบัติการฝนหลวงดับไฟป่าพรุโต๊ะแดง

จังหวัดนราธิวาสเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่พรุใหญ่ที่สุดในประเทศ ประกอบด้วย 2 พรุใหญ่คือพรุบาเจาะ และพรุโต๊ะแดง มีพื้นที่รวมกันทั้งสิ้นประมาณ 260,000 ไร่ ในปี พ.ศ.2541 บริเวณพรุโต๊ะแดง ได้เกิดสภาวะแห้งแล้งรุนแรงเป็นประวัติการ จากสภาวะแห้งแล้งผิดปกตินี้เองประกอบกับการที่มีผู้ลักลอบเข้าไปแผ้วถางและเผาป่าอนุรักษ์ เป็นมูลเหตุให้เกิดไฟป่าพรุโต๊ะแดงขึ้น

สถานะการไฟป่าพรุโต๊ะแดง
ช่วงแรก

เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2541 ที่บริเวณบ้านชรายอ ตำบลปาเลมัส อำเภอสุไหงโกลก สามารถควบคุมเพลิงไว้ได้เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2541 พื้นที่เสียหายประมาณ 1,000 ไร่ ช่วงที่สอง ได้เกิดไฟป่าขึ้นอีกระรอกหนึ่งเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2541 ในพื้นที่เดิมที่เกิดในช่วงแรก และพื้นที่อื่นอีก 3 จุด คือที่บ้านโคกใหญ่ เนื้อที่ 100 ไร่ บ้านปูโย เนื้อที่ 320 ไร่ และบ้านโคกกาหลา เนื้อที่ 11,400 ไร่ รวมเป็น 4 จุด

ช่วงที่สอง

ได้เกิดไฟป่าขึ้นอีกระรอกหนึ่งเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2541 ในพื้นที่เดิมที่เกิดในช่วงแรก และพื้นที่อื่นอีก 3 จุด คือที่บ้านโคกใหญ่ เนื้อที่ 100 ไร่ บ้านปูโย เนื้อที่ 320 ไร่ และบ้านโคกกาหลา เนื้อที่ 11,400 ไร่ รวมเป็น 4 จุด

สถานะการไฟป่าในช่วงที่สองนี้รุนแรงและขยายอาณาเขตมากยิ่งขึ้นจนยากที่จะควบคุมได้ ทั้งนี้เนื่องมาจากลักษณะไฟป่าพรุโต๊ะแดงแตกต่างจากไฟป่าที่เกิดจากภูมิภาคอื่นของประเทศ เพราะมีไฟคุไหม้ใต้ดินด้วย เนื่องจากดินในป่าพรุ เกิดจากการสะสมของซากต้นไม้และใบไม้เป็นเวลานาน ทับถมกันเป็นชั้นหนาปกคลุมพื้นดินเดิม เศษซากพืชซากสัตว์เหล่านี้ส่วนใหญ่จมอยู่ใต้น้ำ จึงสลายตัวได้ช้า เมื่อประสพสภาวะแห้งแล้งรุนแรงและระดับน้ำใต้ดินลดต่ำลงมาก จึงกลายเป็นเชื้อเพลิงใต้ดิน

รัฐบาลได้มีมาตรการต่างๆ ในการดับไฟป่าพรุโต๊ะแดง เช่นการใช้เครื่องสูบน้ำเข้าไปในบริเวณพื้นที่พรุ การใช้กำลังพลเข้าไปในพื้นที่เพื่อดับหัวไฟ ใช้รถแบ็คโฮขุดกั้นแนวแนวไฟป่า ตลอดจนใช้เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงน้ำเพื่อเข้าไปควบคุมไฟป่า อย่างไรก็ตามมาตรการที่ใช้ในการดับไฟป่าต่างๆ สามารถควบคุมไปป่าได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็พบกับปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ จึงไม่สามารถดับไฟป่าได้อย่างสิ้นเชิง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยในสถานะการไฟป่าพรุโต๊ะแดงเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากสูญเสียสภาพป่าสมบูรณ์และป่าอนุรักษ์แล้ว ยังทำลายระบบนิเวศวิทยาของพรุ และเกิดมลภาวะเนื่องจากควันไฟที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ล้อมรอบพรุอย่างรุนแรงอีกด้วย จากสภาพปัญหาและข้อจำกัดของมาตรการดับไฟป่าต่างๆ ทีกระทำอยู่อย่าต่อเนื่องไม่สามารถควบคุมไฟที่คุไหม้อยู่ใต้ดิน จึงทรงพระราชทานข้อแนะนำ ให้ทำฝนหลวงในภาระกิจพิเศษดับไฟป่าพรุโต๊ะแดงควบคู่ไปกับมาตรการต่างๆ ที่กำลังทำอยู่ โดยทรงพระราชทานข้อแนะนำทางเทคนิคโดยเฉพาะสำหรับปฏิบัติการฝนหลวงในครั้งนี้คือ เทคนิคการใช้น้ำแข็งแห้งในการชักนำความชื้นเข้าสู่พื้นที่และให้ฝนตกสู่พื้นที่เป้าหมายรวมทั้งบริเวณเทือกเขาที่เป็นต้นน้ำลำธารของพรุโต๊ะแดง

ภาพและวีดีโอ