แผนภาพ
ตำราฝนหลวงพระราชทาน
ความหมายที่ขยายความจากแผนภาพ
ตำราฝนหลวงพระราชทาน
แถวบนสุดของตำราฝนหลวงพระราชทาน
ช่องที่ ๑. "นางมณีเมฆขลา"
๑.
เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ของสำนักงานมณีเมฆขลา เป็นส่วนหนึ่งของสำนักงาน ฝล.
๒.
เป็นหัวหน้าสำนักงานอุตุนิยมวิทยา แห่งเขาไกรลาส หรือเขาพระสุเมรุ วิเทศะสันนิษฐานว่าอยู่ในทะเล
ช่องที่ ๒. "พระอินทร์ทรงเกวียน"
๑.
พระอินทร์เป็นพระสักกะเทวราช เป็นราชาของเทวดา ที่ลงมาช่วยทำฝน
ช่องที่ ๓. "๒๑ มกราคม ๒๕๔๒"
เป็นวันที่ทรงประทับบนเครื่องบินพระที่นั่งเสด็จไปประกอบพระราชกรณียกิจที่จังหวัดเชียงใหม่
ระหว่างเส้นทางพระราชดำเนินกลับ ทรงสังเกตเห็นกลุ่มเมฆปกคลุมพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างที่น่าจะทำฝนได้
ทรงบันทึกภาพเมฆเหล่านั้นพระราชทานลงมาและมีพระราชกระแสรับสั่งให้ส่งคณะปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษออกไปปฏิบัติการกู้ภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
และภาคเหนือตอนล่าง โดยเร่งด่วน
ช่องที่ ๔. "เครื่องบิน ๓ เครื่อง"
เป็นตัวอย่างของเครื่องบินที่เหมาะสมกับการปฏิบัติการตามตำราฝนหลวงพระราชทานตามขั้นตอนที่
๑-๖ ประกอบด้วย
เครื่องบินเมฆเย็น
(BEECHCRAFT KING AIR)
(จำนวนที่เหมาะสม ๑ เครื่อง)
เครื่องบินเมฆอุ่น
(CASA)
(จำนวนที่เหมาะสม ๒ เครื่อง)
เครื่องบินเมฆอุ่น
(CARAVAN)
(จำนวนที่เหมาะสม ๒ เครื่อง)
ความหมายที่ขยายความจากแผนภาพ
ตำราฝนหลวงพระราชทาน แผนภาพแถวที่ ๑
แถวที่ ๑ ช่องที่ ๑–๓ เป็นขั้นตอนที่ ๑
แถวที่ ๑ ช่องที่ ๑–๓ เป็นขั้นตอนที่ ๑
เป็นการเร่งให้เกิดเมฆโดยใช้เครื่องบินเมฆอุ่น ๑ เครื่อง โปรยสารเคมีผงเกลือโซเดียมคลอไรด์
(NaCl) ที่ระดับความสูง ๗,๐๐๐ ฟุต ในขณะที่ท้องฟ้าโปร่งหรือมีเมฆเดิมก่อตัวอยู่บ้าง
ความชื้นสัมพัทธ์ไม่ต่ำกว่า ๖๐ เปอร์เซ็นต์ ให้เป็นแกนกลั่นตัว (Cloud Condensation
Nuclei) เรียกย่อว่า CCN ความชื้นหรือไอน้ำจะถูกดูดซับเข้าไปเกาะรอบแกนเกลือแล้วรวมตัวกันเกิดเป็นเมฆซึ่งเมฆเหล่านี้จะพัฒนาเจริญขึ้นเป็นเมฆก้อนใหญ่อาจก่อยอดถึงระดับ ๑๐,๐๐๐ ฟุต ได้
ความหมายที่ขยายความจากแผนภาพ
ตำราฝนหลวงพระราชทาน แผนภาพแถวที่ ๒
แถวที่ ๒ ช่องที่ ๑–๔ เป็นขั้นตอนที่ ๒
แถวที่ ๒ ช่องที่ ๑–๔ เป็นขั้นตอนที่ ๒
เป็นการเร่งการเจริญเติบโตของเมฆที่ก่อขึ้นหรือเมฆเดิมที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และก่อยอดขึ้นถึงระดับ
๑๐,๐๐๐ ฟุต ฐานเมฆสูงไม่เกิน ๗,๐๐๐ ฟุต ใช้เครื่องบินแบบเมฆอุ่นอีกหนึ่งเครื่อง โปรยสารเคมีผงแคลเซียมคลอไรด์
(CaCl2) เข้าไปในกลุ่มเมฆที่ระดับ ๘,๐๐๐ ฟุต (หรือสูงกว่าฐานเมฆ ๑,๐๐๐ ฟุต) ทำให้เกิดความร้อนอันเนื่องมาจากการคายความร้อนแฝงจากการกลั่นตัวรอบ
CCN รวมกับความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาของไอน้ำกับสารเคมี CaCl2 โดยตรง และพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ตามธรรมชาติจะเร่งหรือเสริมแรงยกตัวของมวลอากาศภายในเมฆยกตัวขึ้น
เร่งกิจกรรมการกลั่นตัวของไอน้ำและการรวมตัวกันของเม็ดน้ำภายในเมฆ ทวีความหนาแน่นจนขนาดของเมฆใหญ่และก่อยอดขึ้นถึงระดับ
๑๕,๐๐๐ ฟุต ได้เร็วกว่าที่จะปล่อยให้เจริญขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งยังเป็นส่วนของเมฆอุ่นจนถึงระดับนี้การยกตัวขึ้นและจมลงของมวลอากาศ
การกลั่นและการรวมตัวของเม็ดน้ำยังคงเป็นอย่างต่อเนื่องแบบปฏิกิริยาลูกโซ่ แต่บางครั้งอาจมีแรงยกตัวเหลือพอที่ยอดเมฆอาจพัฒนาขึ้นถึงระดับสูงกว่า
๒๐,๐๐๐ ฟุต ซึ่งเป็นส่วนของเมฆเย็น เริ่มตั้งแต่ระดับประมาณ ๑๘,๐๐๐ ฟุตขึ้นไป (อุณหภูมิต่ำกว่า
๐ องศาเซลเซียส)
ความหมายที่ขยายความจากแผนภาพ
ตำราฝนหลวงพระราชทาน แผนภาพแถวที่ ๓
แถวที่ ๓ ช่องที่ ๑–๔ เป็นขั้นตอนที่ ๓
แถวที่ ๓ ช่องที่ ๑–๔ เป็นขั้นตอนที่ ๓
เป็นการเร่งหรือบังคับให้เกิดฝน เมื่อเมฆอุ่นเจริญเติบโตขึ้นจนเริ่มแก่ตัวจัด ฐานเมฆลดระดับต่ำลงประมาณ
๑,๐๐๐ ฟุต และเคลื่อนตัวใกล้เข้าสู่พื้นที่เป้าหมาย ทำการบังคับให้ฝนตกโดยใช้เทคนิคการโจมตีแบบ
Sandwich โดยใช้เครื่องบินเมฆอุ่น ๒ เครื่อง เครื่องหนึ่งโปรยผงโซเดียมคลอไรด์ (NaCl)
ทับยอดเมฆหรือไหล่เมฆที่ระดับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ ฟุต ทางด้านเหนือลม อีกเครื่องหนึ่งโปรยผงยูเรีย
(Urea) ที่ระดับฐานเมฆด้านใต้ลม ให้แนวโปรยทั้งสองทำมุมเยื้องกัน ๔๕ องศา เมฆจะทวีความหนาแน่นของเม็ดน้ำขนาดใหญ่และปริมาณมากขึ้น
ล่วงหล่นลงสู่ฐานเมฆทำให้ฐานเมฆหนาแน่นจนใกล้ตกเป็นฝน หรือเริ่มตกเป็นฝนแต่ยังไม่ถึงพื้นดิน
หรือตกถึงพื้นดินแต่ปริมาณยังเบาบาง
ความหมายที่ขยายความจากแผนภาพ
ตำราฝนหลวงพระราชทาน แผนภาพแถวที่ ๔
แถวที่ ๔ ช่องที่ ๑–๓ เป็นขั้นตอนที่ ๔
แถวที่ ๔ ช่องที่ ๑–๓ เป็นขั้นตอนที่ ๔
เป็นการเสริมการโจมตีเพื่อเพิ่มปริมาณฝนให้สูงขึ้น เมื่อกลุ่มเมฆฝนตามขั้นตอนที่ ๓
ยังไม่เคลื่อนตัวเข้าสู่เป้าหมาย ทำการเสริมการโจมตีเมฆอุ่นด้วยสารเคมีสูตรเย็นจัด
คือ น้ำแข็งแห้ง (Dry Ice) ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำระดับ –๗๘ องศาเซลเซียส ที่ใต้ฐานเมฆ ๑,๐๐๐
ฟุต จะทำให้อุณหภูมิของมวลอากาศใต้ฐานเมฆลดต่ำลง และความชื้นสัมพัทธ์สูงขึ้นจะทำให้ฐานเมฆยิ่งลดระดับต่ำลง
ปริมาณฝนตกหนาแน่นยิ่งขึ้นและชักนำให้กลุ่มฝนเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่เป้าหมายหวังผลได้แน่นอนและเร็วขึ้น
ความหมายที่ขยายความจากแผนภาพ
ตำราฝนหลวงพระราชทาน แผนภาพแถวที่ ๕
แถวที่ ๕ ช่องที่ ๑–๓ เป็นขั้นตอนที่ ๕
แถวที่ ๕ ช่องที่ ๑–๓ เป็นขั้นตอนที่ ๕
เป็นการโจมตีเมฆเย็นด้วย Agl ขณะที่เมฆพัฒนายอดสูงขึ้นในขั้นตอนที่ ๒ ถึงระดับเมฆเย็น
และมีแค่เครื่องบินเมฆเย็นเพียงเครื่องเดียว ทำการโจมตีเมฆเย็นโดยการยิงพลุสารเคมีซิลเวอร์ไอโอไดด์
(Agl) ที่ระดับความสูงประมาณ ๒๑,๕๐๐ ฟุต ซึ่งมีอุณหภูมิระดับ –๘ ถึง –๑๒ องศาเซลเซียส
มีกระแสมวลอากาศลอยขึ้นกว่า ๑,๐๐๐ ฟุตต่อนาที และมีปริมาณน้ำเย็นจัดไม่ต่ำกว่า ๑ กรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ซึ่งเป็นเงื่อนไขเหมาะสมที่จะทำให้ไอน้ำระเหยจากเม็ดน้ำเย็นยิ่งยวด (Super cooled vapour)
มาเกาะตัวรอบแกน Agl กลายเป็นผลึกน้ำแข็งได้ด้วยประสิทธิภาพที่ดีที่สุด ไอน้ำที่แปรสภาพเป็นผลึกน้ำแข็งจะทวีขนาดใหญ่ขึ้นจนร่วงหล่นลงมา
และละลายเป็นเม็ดฝนเมื่อเข้าสู่ระดับเมฆอุ่น และจะทำให้ไอน้ำและเม็ดน้ำในเมฆอุ่นเข้ามาเกาะรวมตัวกันเป็นเม็ดใหญ่ขึ้น
ทะลุฐานเมฆเป็นฝนตกลงสู่พื้นดิน
ความหมายที่ขยายความจากแผนภาพ
ตำราฝนหลวงพระราชทาน แผนภาพแถวที่ ๖
แถวที่ ๖ ช่องที่ ๑–๓ เป็นขั้นตอนที่ ๖
แถวที่ ๖ ช่องที่ ๑–๓ เป็นขั้นตอนที่ ๖
เป็นการโจมตีแบบ SUPER SANDWICH จะทำได้ต่อเมื่อมีเครื่องบินปฏิบัติการทั้งเมฆอุ่นและเมฆเย็นใช้ปฏิบัติการได้ครบถ้วน
ขณะที่ทำการโจมตีเมฆอุ่นตามขั้นตอนที่ ๓ และ ๔ ทำการโจมตีเมฆเย็นตามขั้นตอนที่ ๕ ควบคู่กันไปในขณะเดียวกัน
จะทำให้ฝนตกหนักและต่อเนื่องนานและปริมาณน้ำฝนสูงยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นการประสานประสิทธิภาพของการโจมตีเมฆอุ่นในขั้นตอนที่
๓ และ ๔ และโจมตีเมฆเย็นในขั้นตอนที่ ๕ ควบคู่กันไปในขณะเดียวกัน เทคนิคการโจมตีนี้โปรดเกล้าฯ
ให้เรียกว่า SUPER SANDWICH
ความหมายที่ขยายความจากแผนภาพ
ตำราฝนหลวงพระราชทาน
แถวล่างสุด ของตำราฝนหลวงพระราชทาน
ช่องที่ ๑. "แห่นางแมว" (CAT PROCESSION)
๑.
เป็นการรวมผลหรือประชาสัมพันธ์ (บำรุงขวัญ)
๒.
แมวเกลียดน้ำ (The cat hates water)
๓.
เป็นพิธีกรรมขอฝนที่สืบทอดกันมาแต่โบราณกาล
๔.
เป็นพิธีกรรมด้านจิตวิทยาเมื่อฝนแล้งเกิดความเดือดร้อน ปั่นป่วนวุ่นวาย จึงต้องมีจิตวิทยาบำรุงขวัญให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่มีกำลังใจ
ช่องที่ ๒. "เครื่องบินทำฝน"
๑.
เครื่องบินปฏิบัติการ (เป็นพาหะในการประยุกต์เทคโนโลยีฝนหลวง)
๒.
เครื่องบินต้องกล้าบินเข้าเมฆฝน สำรวจและติดตามผล
๓.
นักบินและนักวิชาการฝนหลวงต้องร่วมมือกัน (The pilot and the rainmakers must cooperate)
ช่องที่ ๓. "กบ"
๑.
เลือกนายหรือขอฝน และเรียกฝน กบร้องแทนอุตุนิยม
๒.
ถ้าไม่มีความชื้นกบเดือดร้อนและกบเตือนให้มีความพยายาม มิฉะนั้นกบตาย ไม่มีฝนเกษตรกรตาย
๓.
ท่านต้องจูบกบหลายตัวก่อนที่จะพบเจ้าชายเพียงหนึ่งองค์ (You have kiss to a lot of
frogs before you meet a prince) หมายความว่า ต้องมีความพยายามทำซ้ำหลายๆ ครั้ง เพื่อให้เกิดฝนได้สักครั้ง
ช่องที่ ๔. "บ้องไฟ"
๑.
แทนเครื่องบิน (ทำหน้าที่เสมือนเครื่องบินที่เป็นพาหะนำเทคโนโลยีฝนหลวงขึ้นไปประยุกต์ในท้องฟ้า)
๒.
เป็นประเพณีเรียกฝน ไม่ใช้ของเล่นแต่เป็นของจริง ทำฝนด้วยการยิงบ้องไฟ บ้องไฟขึ้นสูงปล่อยควันเป็นแกนให้ความชื้นเข้ามาเกาะรอบแกนควันทำให้เกิดเมฆเกิดฝน
บ้องไฟจึงเป็นพิธีการอย่างหนึ่งเป็นวิทยาศาสตร์