เปลี่ยนการแสดงผล
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซด์
วันนี้
112019
เดือนนี้
5700739
เมื่อวาน
231055
เดือนที่แล้ว
6919354
ฝนหลวงฯ MOU ร่วม 3 หน่วยงาน วิจัยและพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการดัดแปรสภาพอากาศเพื่อรองรับการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
2 พฤษภาคม 2567 116 ครั้ง
วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.30 น. กรมฝนหลวงและการบินเกษตร จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านวิชาการ ระหว่าง กรมฝนหลวงและการบินเกษตร กับ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยมีผู้บริหารกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้แก่ นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร นายวีรวัฒน์ อังศุพาณิชย์ รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ด้านปฏิบัติการ นายราเชน ศิลปะรายะ รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ด้านบริหาร พร้อมด้วยผู้บริหารจาก 3 หน่วยงาน ได้แก่ นายศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) รองศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร.เทพินทร์ พัชรานุรักษ์ คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้ร่วมลงนาม และมีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากส่วนราชการในจังหวัดเชียงใหม่ เข้าร่วมแสดงความยินดีและเป็นสักขีพยานในโอกาสดังกล่าว ณ ห้องประชุมแอนโดรเมดา อาคารท้องฟ้าจำลองและนิทรรศการ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
.
นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า ปัญหาภัยแล้งและภัยพิบัติทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น หมอกควัน ไฟป่า และพายุลูกเห็บ ได้ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่และสุขภาพของประชาชน ทำให้เกิดความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือน และเป็นอุปสรรคในการคมนาคมขนส่ง และยังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และภาคการเกษตรที่เป็นระบบเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศด้วย กรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะหน่วยงานที่ได้สนองและสืบสานพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการช่วยบรรเทาภัยพิบัติ ช่วยเหลือประชาชนให้มีน้ำใช้อย่างเพียงพอ เพื่อความอยู่ดี กินดี และมีความสุขดีขึ้น จึงมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีฝนหลวง อันเป็นศาสตร์แห่งการดัดแปรสภาพอากาศ เพื่อนำมาใช้ในการป้องกันและบรรเทาความรุนแรงของภัยพิบัติทางธรรมชาติด้านต่าง ๆ โดยปัจจัยสำคัญอีกหนึ่งประการที่จะปฏิบัติภารกิจได้อย่างสำเร็จและทันการณ์ คือการพัฒนาเทคนิคและวิธีปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเชื่อมโยงความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นการพัฒนาด้านวิชาการ และเพิ่มศักยภาพการทำงานผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูล เครื่องมือ องค์ความรู้ ประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมซึ่งจะเป็นการนำไปสู่การบริหารจัดการน้ำ และภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างแม่นยำ ทันท่วงที และยั่งยืนในอนาคต
นายสุพิศ กล่าวเพิ่มเติมว่า การลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับ 3 หน่วยงาน ในวันนี้มีวัตถุประสงค์และขอบเขตความร่วมมือ ประกอบด้วย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จะร่วมกันดำเนินงานวิจัยพัฒนาและขยายผลองค์ความรู้ด้านดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์บรรยากาศ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์กับการทำฝนหลวงและการวิจัยวิทยาศาสตร์บรรยากาศและร่วมให้เกิดเป็นผลสัมฤทธิ์เชิงประจักษ์เพื่อสนับสนุนการผลักดันให้เกิดความมั่นคงทางคุณภาพอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะร่วมกันดำเนินงานวิจัยและพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการดัดแปรสภาพอากาศเพื่อรองรับการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติอันเนื่องมาจากความผันแปรของภูมิอากาศและสภาวะโลกร้อน และส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร เสริมสร้างทักษะ ความรู้ ความสามารถ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางวิชาการระหว่างบุคลากรซึ่งจะร่วมกันจัดทำโมเดลการบริหารจัดการภัยพิบัติ การพยากรณ์โอกาสการเกิดฝน การเกิดภัยพิบัติฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เพื่อวางแผนปฏิบัติการฝนหลวงให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือ และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการดัดแปรสภาพอากาศเพื่อรองรับการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ โดยมีการถ่ายทอดข้อมูลการปฏิบัติการฝนหลวงไปสู่บุคลากรทางการศึกษา เป็นการพัฒนาบุคลากรและนักศึกษาให้มีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติการฝนหลวง ซึ่งเป็นการเผยแพร่ศาสตร์ตำราฝนหลวงพระราชทาน และต่อยอดความรู้ให้กับเยาวชนอาสาสมัครฝนหลวงหรือคนรุ่นใหม่ ให้เกิดการรับรู้ มีความรู้ ความเข้าใจในโครงการพระราชดำริฝนหลวง
.
นายสุพิศ กล่าวทิ้งท้ายว่า สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อศึกษาและบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสภาพอากาศสำหรับวางแผนการปฏิบัติการฝนหลวงได้อย่างแม่นยำ ตลอดจนเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของนักศึกษา ประชาชน และชุมชนเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริฝนหลวง เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและการตระหนักรู้ในการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคุ้มค่าอีกด้วย
ภาพและวีดีโอ